รองศาสตราจารย์
ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม
ใน พ.ศ.2513 โรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐมได้รับการดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม
ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูนครปฐมเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตร
วิชาการศึกษา (ป.กศ.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา
ชั้นสูง (ป.กศ. สูง) และหลักสูตรประกาศนียบัตรประถมศึกษา (ป.ป.)
รับผู้สําเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายมาศึกษา 1 ปี
พร้อมกันนั้นก็ได้ดําเนินการก่อสร้างยังสถานที่แห่งใหม่ตั้งอยู่
ณ ถนนมาลัยแมน ต.หนองปากโลง อ.เมือง จ.นครปฐม
ซึ่งได้แก่ สถานที่ตั้งปัจจุบัน
จากโรงเรียนฝึกหัดครู
สู่มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมก่อตั้งมาครบ 82 ปี
ในปี พ.ศ.2561 นี้ผมในฐานะศิษย์เก่าขอแสดงความยินดี
กับมหาวิทยาลัยที่ได้ดําเนินภารกิจเจริญก้าวหน้ามาเป็น
ลําดับนับแต่ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2479 ในนามของ
โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม สถานที่ตั้งโรงเรียน
อยู่ ณ ถนนเทศา อ.เมือง จ.นครปฐม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้ง
ศาลจังหวัดนครปฐม
ที่น่าภาคภูมิใจมหาวิทยาลัยได้เจริญรุดหน้าจากโรงเรียนฝึกหัดครูเล็กๆ
มีนักศึกษาจํานวนเล็กน้อย เป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาเกือบสองหมื่น
มีคณะ 5 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และ
คณะพยาบาลศาสตร์
ดร.เกษม บำรุงเวช
ภาคภูมิใจและยินดี
เป็นอย่างยิ่งกับความเข้มแข็ง
ความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
ของมหาวิทยาลัย
ความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
ของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมนับเป็นมหาวิทยาลัยทีมีชื่อเสียง
มีผลงานที่ทรงคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประชาชน
ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดนครปฐม
และจังหวัดใกล้เคียง ที่เป็นพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย ผลงานที่
ควรค่าแก่การยกย่อง อาทิเช่น การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ
ในหลากหลายสาขาวิชาตามความต้องการของพื้นที่
ในโอกาสครบรอบ 82 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในวันนี้
ข้าพเจ้าในฐานะศิษย์เก่ารู้สึกภาคภูมิใจและยินดี เป็นอย่างยิ่งกับความ
เข้มแข็ง ความเจริญก้าวหน้า อย่างต่อเนื่อง ของมหาวิทยาลัย และมั่นใจว่ามหาวิทยาลัยจะมีความเข้มแข็ง ความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปเพื่อทําให้คนในชุมชนสังคมในพื้นที่ ที่รับผิดชอบได้รับการพัฒนา เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนสืบไป
ขอแสดงความชื่นชมท่านผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร เจ้าหน้าที่นักเรียนนักศึกษาในปัจจุบันที่ได้รวมพลังสร้างสรรค์ ผลงานและชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรวมทั้งขอขอบคุณท่านผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ในอดีตที่ได้สร้างรากฐานที่ดีให้กับมหาวิทยาลัย
จนส่งผลดีถึงทุกวันนี้ขอความดีที่ท่านทั้งหลายได้ทํามาจงคุ้มครอง ส่งเสริมสนับสนุนทุกท่านให้พบแต่ความสุข ความเจริญ ความก้าวหน้าใน
หน้าที่การงานมีพลังกายและพลังใจที่สมบูรณ์ เข้มแข็งตลอดไป
หอ D1
ที่พํานักของนักกิจกรรมตัวยง
หอ D1 มี 3 ชั้น โดยชั้น 2-3 เป็นหอพักรวมของนักศึกษาชาย ส่วนชั้นล่างแบ่งเป็นสองฝั่ง ฝั่งตะวันตกเป็นห้องภาควิชาดนตรี ฝั่งตะวันออกเป็นห้องภาควิชานาฏศิลป์ในส่วนของห้องภาควิชา
ดนตรีได้แบ่งออกเป็นห้องเรียนของ นักศึกษาอยู่ด้านนอก และห้องเก็บเครื่องดนตรีอยู่ด้านใน ห้องนี้ที่เป็นที่พักของผม
หน้าที่ที่ทําคือ จัดเตรียมเครื่องเสียงเทปเพลง Mozart ประเภท Symphony No 5 เพื่อให้อาจารย์สมิทธิ์ใช้สอนนักศึกษาในวิชาสุนทรีของชีวิตทุกครั้งที่มีการซ้อมวงดนตรีของวิทยาลัยครู ผมมีหน้าที่ขนย้ายติดตั้งเครื่องดนตรี เครื่องเสียง รอพี่ ๆ อาจารย์ มาซ้อมเพลงและแน่นอนครับเมื่อมีงานแสดง ก็ต้องเป็นหน้าที่ของผม เช่นกันในการขนย้ายเตรียมจัดอุปกรณ์การแสดงรวมถึงการเรียง โน๊ตเพลงและซักรีดเสื้อผ้านักดนตรี
ทุกครั้งไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฆนัท ธาตุทอง
วค.นครปฐม ที่ผมรัก
เริ่มต้น
ชื่อเดิมของผม คือ สมนึก ธาตุทอง ผมเข้ามาเรียนที่นี่ได้เพราะเป็นนักดนตรี เครื่องมือที่ผมถนัด คือ กลองชุด หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
แล้วยังไม่รู้เลยว่าจะไปเรียนต่อที่ไหน ในระหว่างปิดเทอมครูสอนดนตรีผม บอกว่า
“สมนึก ไปช่วยครูเล่นดนตรีกับวงวิทยาลัยครูนครปฐม หน่อยนะ เพราะมือกลองเขาไปไม่ได้” ผมรับปากทันที ผมเดินตามอาจารย์สมิทธิ์ไปตึก ที่มีอาจารย์
อยู่เต็มไปหมด อาจารย์เข้าไปในห้องนั้นผมนั่งคอยนอกห้องแต่ เห็นอาจารย์
ไปหยิบกระดาษมาเขียนข้อความอะไรไม่ทราบแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่ (มาทราบตอนหลังว่าเป็นบันทึกข้อความถึงอธิการบดี ขอความอนุเคราะห์ ให้ผมได้เรียนที่นี่เพราะมีความสามารถด้านดนตรี ซึ่งวงดนตรีวิทยาลัยครู ยังขาดมือกลอง)
จากนั้นอาจารย์ให้ผมจดที่อยู่ไว้ให้เพื่อจะได้ติดต่อ ผมบอกว่า ขอให้ติดต่อกับครูขจรศักดิ์อีกทางหนึ่งด้วย ไม่กี่วันหลังจากนั้น ครูขจรศักดิ์ มาบอกผมว่า
ให้เตรียมหลักฐานไปรายงานตัวเรียนต่อที่วิทยาลัยครูนครปฐม เอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป
วิทยาลัยครูนครปฐม
บ่มเพาะพร้อมเป็นครู
หลังจากจบ ป.กศ. สูง ปีพ.ศ. 2524 ผมได้ไปสมัครสอบบรรจุเป็นครู ที่บ้านเกิดจังหวัดกาญจนบุรี ในสมัยนั้นเวลาสมัครสอบเขาสมัครเป็น โรงเรียน ๆ ไป
เวลาสอบก็จะแข่งกันในโรงเรียนนั้นก่อน ที่เหลือจึงนําคะแนนมาเรียงแล้วขึ้นบัญชีไว้เรียกตัว ผมเสียใจเล็กน้อยแต่นี่ก็เป็น สนามประลองชีวิตของเราอีกสนามหนึ่ง ทําไงดีสอบบรรจุไม่ได้ออกไป ก็ไม่รู้จะทําอะไร แต่ใช่ว่าไม่มีทางไปนะครับ
เพราะ ตอนนั้นมีวงดนตรีหลายวง ที่ต้องการตัวผมไปเล่นด้วย เพียงแต่ผมคิด
ที่ว่า วงนั้นต้องเดินสาย Tour ไปต่างจังหวัดตลอด เสียดายก็เสียดาย
เงินดีซะด้วย แต่อนาคตล่ะ... ไม่มีใครตอบไป ผมเริ่มคิดตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว
ว่า “ผมไม่ใช่นักดนตรีอาชีพ หรือ จะเอาดีทางดนตรี แต่ที่เล่นดนตรีเพียง
เพราะ ต้องการเงินมาเรียนหนังสือ เมื่อเรียนจบก็จะหยุดเล่นแล้วทํางาน
ให้ดีที่สุด” นั่นคือความตั้งใจจริงที่แน่วแน่ ที่วิทยาลัยครูนครปฐมให้ผม
ปริญญาตรีสังคม
วิทยาลัยครูนครปฐม
ผมกลับมาเรียนต่ออีกครั้งที่วิทยาลัยครูนครปฐม ในวิชาเอกสังคมศึกษา และเริ่มแสวงหาข้อมูลว่าเพื่อน ๆ ตอนที่เรียน ป.กศ.สูง เอกวิทย์ มีใครบ้างที่สอบบรรจุได้ ใครบ้างที่กลับมาเรียน ใครบ้างที่ออกไปทําอะไร ที่ไหน ผมกลับไปยังตึกวิทย์อีกครั้ง (ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เอกวิทย์แล้ว) ไปเจอเพื่อนเก่า ๆ หลายคน ครั้งจะนัดไปกินข้าวด้วยกันก็ลําบาก เพราะพักกินข้าวไม่พร้อมกับใครก็มันจะไปพร้อมได้ยังไง ในเมื่อตอนเพื่อน ๆ ส่วนใหญ่เขากินข้าวกัน ผมเป็นคนช่วยขายข้าว อยู่ในโรงอาหารของวิทยาลัย
พ จ น ก
พ จ น ก คือ กิจกรรมการแข่งขันกีฬาของวิทยาลัยครูภาคตะวันตก
พ คือ วิทยาลัยครูเพชรบุรี
จ คือ วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง
น คือ วิทยาลัยครูนครปฐม
ก คือ วิทยาลัยครูกาญจนบุรี
ทุกปีจะมีการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์สามัคคี
ของ 4 วิทยาลัยครู ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ในละปีการศึกษาจะมีการแข่งขันกีฬาระหว่างคณะ
ภายในวิทยาลัย แล้วคัดตัวนักกีฬามารวมทีมไปแข่งขัน
กันในช่วงปิดเทอมใหญ่ปลายปี
ออกร้านงาน
องค์พระปฐมเจดีย์
ทุก ๆ ปี ในเดือนพฤศจิกายน จะมีเทศกาลงานประเพณีลอยกระทง บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ ที่เราเรียก กันว่า “งานองค์พระ” วิทยาลัยครูนครปฐม ได้พื้นที่บริเวณประตูทิศตะวันออก(ประตูโพธิ์ทอง) ทางที่จะออกไปพระประโทณ
และกรุงเทพฯ โดยร้านของพวกเราจะอยู่ติด กับร้านของวิทยาลัยอาชีวศึกษาและโรงเรียนราชินีบูรณะ ทั้งสองร้านเน้น ขายอาหารแต่ของเรานอกจากอาหาร
จากนักศึกษาวิชาเอกคหกรรมศาสตร์ แล้วยังมีการแสดงดนตรีนาฎศิลป์อีกด้วย ผมได้พัฒนาฝีมือดนตรีที่งานองค์พระงานองค์พระให้ทักษะดนตรีที่เชี่ยวชาญ
ขึ้นจนกระทั่งทําให้มีรายได้ ระหว่างเรียน ขอบคุณวิทยาลัยครูที่ให้ความรู้
และประสบการณ์ดนตรีให้กับผม
Mind Mapping
คือสิ่งที่ได้จาก
วิทยาลัยครูนครปฐม
เมื่อลายมือก็ไม่ใช่ลายมือเรา เข้าเรียนก็ไม่ได้เข้าเรียน อ่าน ๆ ไป เริ่มสับสน มึนงง สักพักก็เก็บและไม่อ่าน ก็มานั่งคิดว่า จะทํายังไงถึงจะรู้เรื่องพวกนั้นหา (เศษ) กระดาษมา ปากกา หรือ ดินสอมา ลองมานั่งขีด ๆ เขียน ๆ ออกมาเป็นกรอบ เป็นภาพ
อะไรมันเชื่อมโยงกับอะไร อะไรมันเป็นหัวข้อใหญ่ เรื่องใหญ่ ประเด็นหลักแล้วมีอะไรเป็นเรื่องย่อยของเรื่องไหน หัวข้อใด จนได้
เรื่องราวทั้งหมดมาอยู่ในกระดาษแผ่นเดียวแล้วก็จําภาพที่เราทํามาเชื่อมโยงในกระดาษแผ่นนั้น ไว้ให้ดี ดูแล้ว หลับตานั่งนึกภาพนั้นเห็นความสัมพันธ์ของเรื่องราวอันไหนจําไม่ได้ ก็เปิดดูอีกแล้วก็นําไปต่อกับความเดิมที่จําไว้ได้แล้วจนจําได้หมด ผมมารู้ตอน
เรียนปริญญาโทว่าไอ้สิ่งที่ผมทํามันอยู่ในนั้นเขาเรียกว่า Mind Mapping ปัดโธ่...เราทํามาตั้งนาน ที่นี้พอเราจํา Mind Mapping ได้แล้ว เวลาสอบก็สบาย เข้าห้องสอบปั๊บ รีบเขียน Mind Mapping ออกมาก่อนเลย แล้วเวลาเขียนตอบก็ค่อย ๆ ไล่ไปทีละประเด็นจนครบถ้วนกระบวนความแถมท้ายด้วยความคิดเห็นของเราเข้าไปนิดหนึ่ง แล้วก็สรุปประเด็นทั้งหมดปิดท้าย
จะเหลือเหรอ...คะแนนก็ได้มาเทมาจนครูบาอาจารย์หลายท่านสงสัยว่า
“
สมนึก เธอขาดเรียนบ่อย มันมัวแต่ไปทํากิจกรรม ไปเล่นดนตรี แต่ทําไมคะแนนมันได้ดีกว่า พวกที่มาเรียนทุกครั้ง
”
สมนึก เธอขาดเรียนบ่อย มันมัวแต่ไปทํากิจกรรม ไปเล่นดนตรี แต่ทําไมคะแนนมันได้ดีกว่า พวกที่มาเรียนทุกครั้ง
”
ทวีชัย เติมคุนานนท์
ผู้เขียนเข้ามาเป็นนักเรียนโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม
เมื่อ 24 พฤษภาคม 2511 ได้เลขประจําตัว 167 โรงเรียนนี้เป็น
สถาบันฝึกหัดครูที่เปิดสอนตั้งแต่ปี 2479 โดยรับนักเรียนหญิง
ในพื้นที่จังหวัดนครปฐมเข้ามาเรียนแบบนักเรียนกินนอน
คือพักอยู่ในหอพักที่โรงเรียนจัดให้ ต่อมาจึงขยายรับนักเรียนหญิง
จากจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาเรียนด้วย จนในปี 2503 จึงเริ่มรับ
นักเรียนชายพื้นเพในนครปฐมมาเรียนแบบมาเช้ากลับเย็น
ผู้เขียนจึงเป็นนักเรียนชาย รุ่นที่ 9 และเป็นนักเรียนหลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) รุ่นที่ 13 ของโรงเรียนนี้
สองปีในรั้ว
ชมพู-แดง
อดีตในความทรงจํา
ชมพู-แดง
อดีตในความทรงจํา
ผู้นําของอาจารย์ใหญ่ ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์ ผู้ที่บุกเบิกนําพา คณาจารย์ร่วมกันพัฒนาสถาบันนี้ในช่วงสําคัญนี้ คือก้าวเข้าสู่สถาบัน ที่เติบโตอย่าง ก้าวกระโดดท่ามกลางความไม่สู้จะพรักพร้อมกับสถานการณ์ ที่กําลัง
เปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ แต่ด้วยวิสัยทัศน์และบุคลิกภาพอันสุขุม เยือกเย็นของท่าน ทําให้เป็นที่ยอมรับของคณาจารย์ทั้งหลาย ในการเป็นผู้นํา
ของท่าน ในด้านนักเรียน แม้ว่าท่านไม่ได้สอนวิชาการในชั้นเรียน แต่การปลูกฝังนักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรมของอาชีพครูในที่ประชุมนักเรียนประจําสัปดาห์ที่เรียกว่า Moral Lab ก็เป็นจุดเด่นและเป็นที่ชื่นชม ยอมรับของนักเรียนเป็นอย่างดี เรายังมี อ.เยาวภา สมศรี อาจารย์อาวุโส
ที่นักเรียนทุกคนรู้จัก