เรื่องราว








ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์
พ.ศ.2511-พ.ศ .2514

แม้จะต่างชาติ ต่างภาษา ต่างเผ่า และแม้จะขัดแย้งทะเลาะกันให้ตื่นเต้นกันบ้าง
ก็เพียงเพราะกิเลสธรรมดา เสมือนลิ้นกับฟันของคนบ้านใกล้เรือนเคียง
จะส่งผลให้เกิดการตื่นเต้นบ้าง ก็ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แล้วจะค่อย ๆ คืนสู่ความสงบ
กลับสู่วิถีชีวิตเดิม แต่กิเลสหนักหนาที่โหมมาจากอำนาจของประเทศ
ของผู้แสวงหาอาณานิคมจากโลกส่วนที่มีพื้นฐานวัฒนธรรมต่างกันกับเรายิ่งนัก
ถือเอาการกดขี่ข่มเหงด้วย อำนาจที่มีอาวุธเหนือกว่ามีผลให้เกิดการกระเพื่อม
อย่างใหญ่หลวงกระทบกับชีวิตที่รุนแรง กระเทือนไปแทบจะทุกส่วน

วิถีชีวิตที่คนเคยอยู่กันอย่างเรียบง่าย สงบ และมีน้ำใจเอื้อกัน
ถูกกล่าวหาว่าล้าสมัยถูกบีบด้วยอำนาจและต้องอยู่ในภาวะจำยอมจึงมีผลให้ทุกส่วนของชีวิต และระบบสังคมค่อย ๆ ถูกกระทำให้เปลี่ยนไป บ้าน-วัด-โรงเรียน (บวร)
ก็ถูกปรับเข้าสู่การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ โดยมีโรงเรียนเป็นจุดเริ่มงาน “สร้างครู”
จึงเป็นงานสำคัญยิ่งเสมอมาและตลอดไป และ “ครู” คือ ผู้ที่จะเปิดทางให้นักเรียน
ซึ่งก็คืออนาคตของทุกยุคทุกสมัยได้เปิดตาก้าวทันโลก และพัฒนาจะตามจะเห็น
หรือจะนำหน้าก็อยู่ที่คุณภาพของการศึกษา ทั้งครู-อาจารย์-นักเรียน-ที่การศึกษา

จากจุดเล็ก ๆ ที่แทบมองไม่เห็นความสำคัญ ก็ขยายใหญ่โตขึ้นเรื่อย ๆ และมีความสำคัญยิ่งนัก จนความเจริญรุ่งเรืองของชาติ ต้องขึ้นอยู่กับ
คุณภาพเนื้อหา ทิศทาง ความสามารถ และวิธีการในการจัดการศึกษา บทบาท และภารกิจของสถาบันการศึกษาแทรกอยู่แทบจะทุกอณู
ของการพัฒนาประเทศ เป็นพลังล้ำลึกที่ครอบคลุมซ่อนอยู่ และมีความลึซึ้งเฉียบคมในแต่ละระดับการศึกษาไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใด
ล้วนต้องจัดให้เหมาะสม กับธรรมชาติทั้งของสังคมและวิถีชีวิต จึงจะถือว่ามีคุณภาพที่ดีที่เหมาะสมถ้าทำได้ดี และใกล้เคียงจนมีช่องว่างน้อยที่สุด
หรือไม่มีช่องว่าง ก็จะเจริญรุ่งเรืองถือว่ามีคุณภาพดีที่เหมาะสม แต่ถ้าการกำหนดที่จะทำ และดูดีแล้วหากเผลอให้กิเลสทำให้หลงทางเข้าป่ารกกลับไม่ได้ก็ทำให้เสียของ เสียโอกาส เสียเวลา ไม่ได้เป็นแนวทางที่จะช่วยให้สร้าง ช่วยให้พัฒนา ให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในชุมชนและในชาติ



85 ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เดินทางมายาวไกล จากโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม (2479) มาเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม (2512)
วิทยาลัยครูนครปฐม (2513) สถาบันราชภัฏนครปฐม (2537) และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (2547) ในปัจจุบัน และจะต้องเป็นอีกยาวไกลตลอดไปอย่างมีคุณภาพทั่วถ้วน จากพื้นที่เริ่มต้นเพียง 10 ไร่ (ในเมือง) มาเป็นกว่าร้อยไร่ต่อมาเป็นสองร้อยหกสิบไร่เศษ ในปัจจุบันจากอาคารเก่า
ที่แทบจะไม่เหลืออะไรให้เห็นแล้วมาเป็นอาคารใหม่เกือบจะทั้งหมด

จากจำนวนครู-อาจารย์ 26 คน (2511) มาเป็น 130 คน (2514)
และปัจจุบันทั้งครูอาจารย์และบุคลากรด้านต่างๆกว่า 800 คน
ภาคพิเศษ(กศ.พป.)กว่าสามพันคนชื่อเสียงเกียรติคุณความภูมิใจ
ทั้งต่อวิชาชีพทั้งต่อการสืบทอดต่อเนื่องและทั้งการที่จะดำรงอยู่
อย่างยืนยงเป็นสง่าในอนาคต ฟังแล้วดูเสมือนหนัก
แต่ก็จะรู้สึกเบาสบาย เป็นสุข ชื่นชม และอิ่มใจสำหรับผู้ที่ทำเป็นปกติ
บทบาทความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองต่อหมู่คณะ และต่อสถาบัน
ดูแลควบคุมให้เดินไปได้อย่างสง่างามมีคุณค่า และสอดรับกับธรรม
ที่อยู่ที่เป็นก็จะเกิดความสุขบนเส้นทางที่ทุกคนต้องคำนึงที่ผูกพัน
กับเกียรติยศชื่อเสียงทั้งของตน และสถาบันด้วยความรู้สึก
“รู้รัก-สามัคคี” ที่ต้องซึมซับ หล่อเลี้ยง เป็นสติตลอดไปก็จะสามารถ
ฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลาย ทั้งปวงได้ อย่างสง่าผ่าเผย แทบไม่น่าเชื่อ
และเป็นสุขใต้ร่ม “ชมพู-แดง” เฟื่องฟ้าแดง-ชมพู เด่นงามหรูชื่นใจ......
วันเวลาที่เคลื่อนไปก็ยิ่งจะทำให้สถาบันที่เรารักเราดำรงอยู่
เรามีส่วนสรรค์สร้างเพิ่มความแข็งแกร่ง สง่างาม สุขุม ลุ่มลึก
ด้วยภูมิปัญญา สมนาม สมชื่อ ตลอดไป
ในฐานะที่เคยเป็นหนึ่งในผู้บริหารเมื่อกว่า 40 ปี มาแล้วขอชื่นชม
และขอบคุณทุกท่านไม่ว่าอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ใดขออวยพร
ให้ความพากเพียรในการปฏิบัติหน้าที่ของท่านทั้งหลายที่ทุ่มเททำงานอย่างมีคุณภาพ และคุณธรรมท่ามกลางการสรรค์สร้างความรู้ฝึกฝน
จนเชี่ยวชาญท่ามกลางกัลยาณมิตรย่อมคุ้มค่ายิ่งแล้วขอให้เป็นสุข
และอิ่มเอิบใจในงานที่ทำยิ่ง ๆ ขึ้นตลอดไปขอให้สถาบันจงเจริญรุ่งเรืองด้วยภารกิจที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนเจาะลึก
และพัฒนาคุณภาพทุกภารกิจอย่างเป็นสุขชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
โดยมีสถาบันเป็นกำลังเสริมที่ต่อเนื่องอย่างมีความหมายเป็นหน้าเป็นตาซึ่งกันและกันเสมอไป

ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์
ดร.จรินทร์ ชาติรุ่ง
พ.ศ.2515-พ.ศ.2523

การบริหารงานในช่วงนั้นดิฉันได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีมาก
จากท่านอาจารย์นิทัศน์ เพียกขุนทด ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
อาจารย์สิทธิโชค วรานุสันติกุล อาจารย์ชะเอม ชัวนินี
อาจารย์ปิ่นงามพิศ และคณาจารย์ทุกท่าน เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา
ที่ตั้งใจทำงาน เสียสละ อุทิศตนให้กับงานกับทุกคนจึงทำให้
การบริหารงานไม่ลำบากนักทั้งนี้เนื่องจากผู้บริหารมักจะเป็น
ผู้ตัดสินใจเองจึงอาจทำให้การบริหารมีข้อผิดพลาดไปบ้าง
ในส่วนของงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นและเป็นผลงานที่ภาคภูมิใจ
ก็มีอาคาร A1 หอนอนต่าง ๆ โรงอาหาร และในการก่อสร้าง
ได้เป็นผู้ปรับเปลี่ยนวัสดุก่อสร้างอาคารโดยเปลี่ยนจากการ
ปูกระเบื้องยางไปเป็นปูด้วยหินขัด เนื่องจากพื้นที่ของวิทยาลัยครู
เป็นที่ลุ่มพื้นดินชื้นหากปูด้วยกระเบื้องยางจะทำให้เกิดการชำรุดได้



นักศึกษาในสมัยนั้นเรียบร้อย น่ารักมาก แต่มาในปี พ.ศ.2516 ช่วง 14 ตุลาคม 2516)นักศึกษาเริ่มกร้าวโดยนักศึกษา อคป.ของเราไปก่อหวอดข้างนอก ทำให้ภาพลักษณ์ของวิทยาลัยครูช่วงนั้นเสียไปเหมือนกันและช่วยเดียวกันนี้ครูรุ่นเก่าจะมองครูรุ่นใหม่เป็นคอมมิวนิสต์เพราะครูรุ่นใหม่ชอบอ่านหนังสือ
สไตล์ของ เหมา เจ๋อ ตุง จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยขึ้นเหมือนกันแต่สถานการณ์ก็ผ่านไปได้ด้วยดี

สำหรับกิจกรรมที่วิทยาลัยครูนครปฐมร่วมกับชุมชนนั้นเริ่มจากโครงการฝึกหัดครูชนบทวิทยาลัยได้ส่งนักศึกษาไปฝึกงานตามโรงเรียนต่างๆในชุมชน และโรงเรียนในสมัยนั้นก็จะอยู่ติดกับวัด พอวัดมีงานบุญเทศกาลต่าง ๆ ครูและนักศึกษาฝึกงานก็จะไปช่วยงานวัด เช่น อาจารย์และนักศึกษาไปช่วย
ขายทองงานประจำปีของวัด

ช่วงแรกก็ไปช่วยขายทองฟรีพอช่วงหลังหลวงพ่อก็มีค่าขนมให้นอกจากนั้นยังไปช่วยขายทองที่วัดพระปฐมเจดีย์ด้วยแต่ในช่วงหลัง กิจกรรมช่วยวัดห่างหายไปเนื่องจากทางวัดได้ให้ชาวบ้านมาช่วยเรา จึงไม่ได้ไปช่วยกิจกรรมในส่วนนี้จวบจนถึงปัจจุบันนอกจากนี้ยังมี การนำอาจารย์ผู้หญิงไปแข่งขันเตะฟุตบอลกับหัวหน้า
ส่วนราชการผู้ชายโดยมีกติกาว่า ผู้ชายห้ามถูกตัวผู้หญิง แต่
อาจารย์หญิงสามารถดึงผู้ชายได้ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี
กับชุมชนได้เป็นอย่างยิ่งนอกจากการแข่งขันเตะฟุตบอลของอาจารย์แล้วยังมีการนำนักศึกษาไปเตะฟุตบอล

    สำหรับความประทับใจตลอดระยะเวลาที่เป็นผู้บริหารอยู่ที่นี่ ก็คือ วิทยาลัยครูนครปฐมเป็นสถานที่สอนงานบริหารให้
เพราะก่อนหน้าที่จะมารับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ดิฉันเคยถามตัวเองว่า

“ แล้วเราจะบริหารวิทยาลัยครูนครปฐมได้ หรือ? ”

แต่เมื่อมาแล้วที่นี่สอนให้ดิฉันบริหารคนและบริหารงานได้อย่างเหมาะสมดิฉันเป็นอาจารย์ใหญ่ที่สามารถประสานงานกับผู้บริหารระดับสูง
ในกระทรวงได้ง่าย และสะดวกและมีโอกาสในการจัดงานสำคัญให้กับ
กรมการฝึกหัดครู คือ งานวันเกิดกรมการฝึกหัดครูโดย
วิทยาลัยครูนครปฐมจะต้องทำอาหารไปให้ที่กรุงเทพฯ
ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า
วิทยาลัยครูนครปฐมมีจุดเด่นและจุดแข็งที่สำคัญมาตั้งแต่ในอดีต
ทำอย่างไรเราจึงจะรักษาจุดเด่น และจุดแข็งเหล่านี้ให้คงอยู่กับสถาบันของเราสืบไปหลังจากดิฉันเกษียณอายุราชการแล้วได้กลับมาใช้ชีวิต
อยู่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะพิจารณาแล้วเป็นเมืองที่น่าอยู่
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ตั้งอยู่หน้าถนนมาลัยแมน
เป็นความสง่างามเมื่อมาอยู่บริหารในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นรุ่นน้องๆ
ที่สนิทกันตั้งแต่ทำงาน และมาอยู่ใหม่ก็คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
และได้ไปร่วมช่วยน้องๆทำงานเลยมีงานทำเป็นประจำตั้งแต่ช่วยสอนระดับปริญญาโทปริญญาเอกและงานอื่นๆเป็นต้น

ในระหว่างปี พ.ศ.2540-2560 เป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมพัฒนาทางด้านอาคารสถานที่เป็นอันมากเพราะมีนักศึกษาจำนวนมากประกอบกับผู้บริหารระยะนั้นได้พยายามช่วยกันพัฒนาขยายกิจการของมหาวิทยาลัยขยายพื้นที่สร้างอาคารต่างๆได้พัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยอย่างสมบูรณ์แบบทั้งด้านอาคาร สถานที่และด้านวิชาการ ส่งผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีชื่อเสียงทั้งในส่วนของโรงเรียนสาธิตและระดับอุดมศึกษา และคงจะได้ช่วยกันจรรโลงให้มีเกียรติยศและสง่างาม
ดร.จรินทร์ ชาติรุ่ง


อาจารย์ ดร.วิเชียร เมนะเศวต
พ.ศ.2523-พ.ศ.2524

 ข้าพเจ้ารู้สึกหนักใจมากการย้อนอดีตในสมัยมาดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัย
ครูนครปฐมก็พยายามนึกดูทั้งๆ ที่เวลาก็ล่วงเลยมาประมาณ 27 ปีแล้วแต่เพื่อสนอง
เจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยข้าพเจ้าเห็นว่าเรื่องที่ดินของวัดใหม่ปิ่นเกลียวที่ให้มหาวิทยาลัยได้ใช้สร้างสนามอาคารและบ้านพัก จำนวน 58 ไร่ 2 งาน เป็นเรื่องที่
น่าจะบันทึกไว้ในหนังสือสำคัญเล่มนี้ เพื่อบุคลากรรุ่นหลัง ๆ จะได้เข้าใจถึงความเป็นมา
ว่ามีอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ ข้าพเจ้าได้เคยเขียนเผยแพร่ ในหนังสือ “อดีต ปัจจุบัน อนาคต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม”เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปีแต่ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นเรื่อง
ที่เป็นประโยชน์ที่ชาวราชภัฏทุกคนได้อาศัยใบบุญที่ดินผืนนี้เป็นที่อยู่อาศัย
และประกอบอาชีพสร้างความเจริญก้าวหน้ามาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้อยู่ดีมีสุข
กันถ้วนหน้าจึงขอนำมาเผยแพร่อีกครั้ง และข้าพเจ้าได้เพิ่มเติมความประทับใจในเรื่อง
ของกีฬาเขตกรมการฝึกหัดครูอีกเรื่อง หนึ่งนครปฐมเพียง 1 ปีเท่านั้นโดยเดินทางมารับ
ตำแหน่งประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2523 หลังจากข้าพเจ้ารับมอบงาน
จากอาจารย์สมชัย มณีรัตน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองอธิการและรักษาการแทนอธิการแล้วอาจารย์สมชัย ได้แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่ามีเรื่องด่วนขอปรึกษาว่าจะตัดสินใจอย่างไร
เรื่องนั้นก็คือ “ที่ดิน จำนวน 48 ไร่ 2 งาน ของวัดใหม่ปิ่นเกลียว”
 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนนี้ดินที่เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอยู่ขณะนั้นทั้งนี้เพราะมีปัญหาในเรื่องเอกสารการขอใช้ที่ดิน และการขออนุญาตให้ใช้ที่ดินข้าพเจ้าเห็นว่าเป็น
เรื่องด่วนและสำคัญยิ่งจึงพยายามศึกษาถึงความเป็นมาของที่ดินผืนนี้จากผู้รู้ทั้งหลายรวมทั้งได้ไปกราบนมัสการท่านพระครูปราการลักษาภิบาลวัดใหม่ปิ่นเกลียวเพื่อเป็น
การแสดงความเคารพและแนะนำตัวที่มารับตำแหน่งใหม่รวมทั้งสอบถามถึงความเป็นมา และปัญหาที่เกิดขึ้น
ในขณะนั้นจึงได้ทราบว่าหนังสือของจังหวัดนครปฐมที่มีถึงวัดใหม่ปิ่นเกลียวได้ใช้หัวเรื่อง“ เช่าที่ดินของวัด ”
และทางวิทยาลัยจะต้องเสียค่าเช่าให้วัดหรือไม่ข้าพเจ้าจึงไปพบอดีตศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม คุณพวง พันธุลาภ ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องที่ออกหนังสือนี้คุณพวงได้กรุณา
เล่าเรื่องให้ฟังทั้งหมดว่าโดยเจตนาแล้วไม่ได้ขอเช่าที่วัด
เพียงแต่ขอใช้ประโยชน์เป็นสถานศึกษาเท่านั้นแต่เจ้าหน้าที่ประโยชน์จากที่วัดนี้ได้มีการตกลงตั้งมูลนิธิ
วัดใหม่ปิ่นเกลียวโดยวิทยาลัยครูนครปฐมจะเป็นผู้ดำเนินการหาทุนเพิ่มเพื่อให้ได้ดอกผลมาใช้พัฒนาวัดตลอดไป





  รองอธิบดีกรมการฝึกหัดครู ได้เรียกข้าพเจ้าไปพบและบอกว่า อยากให้วิทยาลัยครูนครปฐมรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเขตกรมการฝึกหัดครู ครั้งที่ 2 ในปีพุทธศักราช 2524 โดยครั้งที่ 1 จัดที่วิทยาลัยครูมหาสารคามแล้วหยุดไป เนื่องจากเกิดวิกฤติการณ์บ้านเมืองกรมการฝึกหัดครูจึงอยาก รื้อฟื้นกีฬาขึ้นมาใหม่จึงให้วิทยาลัยครูเอาตัวแทนเขตมาแข่งกัน 2 ปี/ครั้ง ผมจึงรับเรื่องมาปรึกษากับทีมผู้บริหารและคณาจารย์และตัดสินใจรับเป็น
เจ้าภาพฯ การรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬากรมการฝึกหัดครูนี้ กรมฯ มีงบประมาณสนับสนุนไม่มากนักรัฐมนตรีประจำสำนักนายกท่านหนึ่งได้รับปากจะหาทางช่วยเหลือโดยการจัดสรรเงินจำนวนหนึ่งมาให้ ผมและทีมผู้บริหารได้เตรียมความพร้อม เช่น ด้านอาคารสถานที่การต้อนรับการประสานงานต่าง ๆ โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 6-12 มีนาคม 2524 การแข่งขันกีฬาแบ่งออกเป็น 8 เขต จากพัฒนาการอันยาวนานถึง 85 ปี เติบโตเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมบุคลากรทุกระดับจะต้องหลอมรวมกันสร้างความกลมกลืนกันให้ได้มองงานของมหาวิทยาลัยทุกเรื่องเป็นเรื่องใหญ่เสมอ
ที่บุคลากรทุกฝ่ายทุกระดับรวมทั้งนักศึกษาจะต้องร่วมมือช่วยกันพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้เจริญก้าวหน้าสืบไป

อาจารย์ ดร.วิเชียร เมนะเศวต



ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.ปรางศรี พณิชยกุล
พ.ศ.2531-พ.ศ.2537


มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมนั้น ได้รับการสถาปนามา

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2479

โดยมีภารกิจหลักในการผลิตกุลบุตร กุลธิดา อย่างต่อเนื่องเพื่อ
รับใช้ชาติได้สะสมทุนไว้จำนวนมหาศาลมีทั้งที่ดินนิ่ง ก่อสร้างกำลังคน องค์ความรู้ และ ภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นและสังคมทั้งยังได้สมครูอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งทรงปัญญามีความเสียสละ เพื่อปฏิบัติภารกิจหลักในการสั่งสอนเยาวชนออกไปพัฒนาท้องถิ่นพัฒนาสังคมและประเทศชาติ 82 ปี ของการจัดตั้งและดำรงอยู่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

  นับเป็นโอกาสอันสำคัญยิ่งโอกาสหนึ่งที่ควรแก่การยินดีอย่างยิ่งเพราะเป็นโอกาสที่เราจะได้ชื่นชมกับความสำเร็จในอดีตได้วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันของเรานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อมุ่งการพัฒนาต่อไปในอนาคตของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้พัฒนาปรับเปลี่ยนตัวเองมากอย่างต่อเนื่องการเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในปี 2547
ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้ทำหน้าที่ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพหลากหลายสาขาหลายรูปแบบโดยผ่านหลักสูตร 3 สาขาวิชาทั้งในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก



นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีพันธกิจด้านการวิจัย ด้านการผลิตครูและพัฒนาครูด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนการพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 85 ปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยสามารถธำรงพันธกิจไว้ได้เพราะผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่า และเจ้าหน้าที่ของ
หน่วยงาน ๆ ได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อสร้างคุณค่าแก่สถาบันและท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องผลงานของศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยที่กระจายอยู่ทั่วประเทศย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งแก่สังคม ผู้สืบสานงาน ทุกท่านย่อมภาคภูมิใจกับคุณค่าและความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยและมีพลังเข้มแข็งพร้อมที่จะนำมหาวิทยาลัย ก้าวต่อไปภายหน้าโดยคำนึงถึงคุณภาพของบัณฑิตเมื่อเหลียวมองข้างหลังเราคงต้องคารวะท่านผู้ที่มาก่อนซึ่งเป็น
ผู้วางรากฐานบุกเบิกนำทางสร้างรากฐานมหาวิทยาลัยไว้ นานัปการ หากปราศจากท่านผู้บุกเบิกดังกล่าวก็คงไม่มีเรา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรางศรี พณิชยกุล
อาจารย์เพ็ญรัตน์ วริรักษ์
พ.ศ.2537-พ.ศ.2542


“คนจากเมืองพระร่วง-สุโขทัย เดินทางไกลสู่เมืองนครปฐม-ใต้ร่มพระบารมีแห่งพระร่วงโรจนฤทธิ์”

  ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2537 นั่นคือปีที่ข้าพเจ้าเดินทางจากจังหวัดพิษณุโลกเพื่อมารับราชการในตำแหน่ง “อธิการ” สถาบันราชภัฏนครปฐมในเดือนกรกฎาคมข้าพเจ้าพร้อมคณะอาจารย์จากสถาบันราชภัฏพิบูลสงครามพิษณุโลก เดินทางมาถึงหน้าสถาบันแห่งนี้เวลาประมาณเที่ยงวัน ขณะนั้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุทธิณีย์ เถาทับนุ่ม รักษาการอธิการ ได้นำคณะอาจารย์ออกมารอรับ ซึ่งข้าพเจ้านั้นก็คิดว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอันดีในแวดวงราชการ ตามปกติ แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น นั่นเพราะ การรอต้อนรับในวันนั้นมิใช่เพียงแค่การออกมาต้อนรับ “อธิการใหม่” แต่คณะต้อนรับซึ่งนำโดย ผศ.ศุทธิณีย์ เถาทับนุ่ม รักษาการอธิการ ได้นำขบวนรถของเรา เดินทางไปที่องค์พระปฐมเจดีย์ที่ซึ่งข้าพเจ้าปรารถนาที่จะได้ไปสักการะเพื่อเป็น มงคลสักครั้งหนึ่งในชีวิตมาเนิ่นนาน แต่ฉับพลันข้าพเจ้าก็ได้เดินทางไป ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนั้น ในวันแรกที่ก้าวสู่จังหวัดนครปฐมในฐานะ “อธิการคนใหม่ แห่งราชภัฏนครปฐม” ความปีติแผ่ซ่านไปทั้งกายใจ เมื่อฝ่ายต้อนรับได้เตรียมเครื่องนมัสการให้ข้าพเจ้า 2 ชุด ชุดหนึ่งให้ข้าพเจ้ากราบนมัสการองค์พระร่วงโรจนฤทธิ์ซึ่งประดิษฐานอยู่หน้าองค์พระปฐมเจดีย์ และอีกชุดหนึ่งไปกราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ องค์พระปฐมเจดีย์ นั่นทำให้ข้าพเจ้าเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกปีติยินดีอันเป็นมงคลสูงสุดในชีวิตแห่งการเริ่มต้นงานใหญ่

“มิตรไมตรีมีให้ทั้งรอยยิ้มพิมพ์ใจ จากนักศึกษา และคณาจารย์”

 ไม่ทันที่จิตใจจะคลายจากความปีติยินดีจากการสักการะสิ่งที่เป็นมงคลสูงสุดของจังหวัดข้าพเจ้าก็ถูกทำให้หัวใจพองฟูอีกครั้งเมื่อท่านผศ.ศุทธิณีย์ได้นำคณะของเราวนกลับไปยังสถาบันราชภัฏนครปฐม ณ บริเวณหน้าประตูทางเข้าฝ่ายต้อนรับจัดให้ข้าพเจ้าเดินผ่านแถวของนักเรียนโรงเรียนสาธิตของ
สถาบันที่แต่งเครื่องแบบเรียบร้อยน่ารักรอต้อนรับอยู่เต็มสองข้างทางเป็นทิวแถวยาวสุดเส้นทางจนถึงหอประชุม โดยประธานนักเรียนได้ย่อตัวลงตามขนบมารยาทไทยอย่างงดงามเพื่อมอบช่อดอกไม้ให้ข้าพเจ้า นั่นเป็นภาพจำที่ข้าพเจ้าประทับใจมากในใจนั้นคิดชื่นชมครู-อาจารย์ของ
โรงเรียนสาธิตนครปฐมว่า ครูต้องดีเพียงใดจึงจะอบรมสั่งสอนให้เด็กในวัยนี้มีมารยาทอันงดงามได้ดีเพียงนี้เมื่อข้าพเจ้ามองไปในระยะใกล้และไกลออกไป ก็พบว่าทั้งคณาจารย์-เจ้าหน้าที่-นักศึกษา ยืนต้อนรับข้าพเจ้า และคณะผู้ติดตามจากพิษณุโลกอยู่ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ฝ่ายต้อนรับนำพาข้าพเจ้า เดินผ่านเส้นทางเดินไปสู่หอประชุมที่ขนาบไปด้วยกระถางดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูสดแซมแทรกกับสีเขียวขจีของใบไม้อีกทั้งการเลี้ยงต้อนรับในวันนั้นก็เป็นไปด้วยความชื่นมื่นเป็นกัลยาณมิตรของทั้งสองสถาบันยิ่งช่วยตกแต่งให้บรรยากาศแห่ง “ภาพจำ” ในวันแรกแห่งการก้าวสู่ที่ทำงานใหม่ของข้าพเจ้านั้นแลดูสดชื่นสวยงามเต็มไปด้วยมิตรจิตมิตรใจและรอยยิ้มพิมพ์ใจจนยากจะลืมเลือนมาจนถึงทุกวันนี้

“พลังแห่งศาสตร์รายวิชา สู่การปฏิบัติจริงของนักศึกษา ควรค่าคำชื่นชม”

 เมื่อข้าพเจ้ามาเป็นผู้บริหารใหม่ๆ นั้นสถาบันราชภัฏนครปฐมมีงานหลักประการหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากกรมการฝึกหัดครูนั่นคือเป็นสถานที่ฝึกอบรมผู้บริหารระดับรองอธิการฝ่ายต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง “อธิการ” ต่อไปโดยใช้อาคารฝึกประสบการณ์วิชาชีพซึ่งได้รับการอ้างถึงว่าเป็นอาคารหลังแรกของกรมฯ เลยทีเดียวและกรมฯ ต้องการใช้ประโยชน์อาคารดังกล่าวนี้เนื่องจากใกล้กรุงเทพฯ จึงสะดวกต่อการที่วิทยากรที่จะเดินทางมาให้การอบรมโดยง่ายข้าพเจ้าได้ยินคำชื่นชมที่ผู้บริหารจากกรมการฝึกหัดครู และ คณะรองอธิการบดีที่เป็นผู้เข้าร่วมการอบรมแต่ละรุ่นแต่ละปีเสมอว่า...นักศึกษาที่ทำหน้าที่บริการผู้มารับการอบรมไม่ว่าจะระหว่างการประชุมอบรมการรับประทานอาหารกลางวัน-อาหารว่าง ตลอดจนการจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ มีกิริยามารยาท การแต่งกายที่เป็นระเบียบ มาต้อนรับแขกด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม และ การบริการที่แสดงถึงศักยภาพทางความรู้ควบคู่การปฏิบัติงานที่ตรงตามศาสตร์สาขา และที่น่าทึ่งคือนักศึกษาสามารถผสมเครื่องดื่มที่ทันสมัยได้อย่างหลากหลายเกินคาด
คิดส่งผลให้เมื่อมีงานเลี้ยงรับรองแขกก็ได้ทำให้แขกที่มาพบเห็นต่างชื่นชมการทำงานของนักศึกษากลุ่มนี้ แม้กระทั่งท่านอธิบดีกรมการฝึกหัดครูที่มา
เยี่ยมชมการอบรมยังเคยเอ่ยปากชื่นชมนักศึกษาที่มายืนรอต้อนรับที่หน้าอาคารอย่างเป็นระเบียบสวยงามน่าประทับใจ ทุกครั้ง นับเป็นการ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังทั้งอาจารย์และนักศึกษา ซึ่งสามารถสร้างชื่อเสียงและคำชื่นชมกลับสู่สถาบันได้อย่างน่าภาค ภูมิใจสมกับเป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นหลักของจังหวัดและภูมิภาคซึ่งควรค่าแก่การสืบสานต่อเนื่องให้เป็นแบบอย่างสืบไป

“เพลง อำลา...ก่อนจาก...ฝากอนุสรณ์สวนเฟื่องฟ้าอันสง่างาม”

 นี่คือเพลงที่เป็นการบอกย้ำถึงความประทับใจและความทรงจำที่ข้าพเจ้ามีต่อสถาบันแห่งนี้เช่นกัน แม้จะจากลามานานแสนนาน.. แต่ภาพความงามของสระน้ำ ดอกบัว และเฟื่องฟ้าอันสง่างามยังคงบานสะพรั่งอยู่ในใจของข้าพเจ้าเสมอ



“ลา..ขอลา ลาด้วยจิตผูกพัน
ยังซาบซึ้งและบูชาอยู่กันมา
คร่ำครวญคราจากไป
ดังประจักษ์ความรักและอาลัย
สระน้ำ บัวอำไพ เฟื่องฟ้า จำได้อย่างดี
ไม่ลืมสัญญา จำไว้ว่า วันนี้ ก่อนลา
ลาราชภัฏนครปฐมแล้ว
เรา พี่-น้อง ชมพู-แดงเลือดเดียวกัน
สถาบันสรรค์สร้างให้ปัญญา
ไม่เห็นแล้วดวงหน้า
ลา..ขอลา..ลาน้องพี่ที่รัก
พระปฐมเจดีย์นั้นผูกพันใจ
คงไม่มีวันได้คืนกลับมา
มองหน้าอีกทีอยากเอ่ยวจีว่ามีใจผูกพัน
ยามคลาดแคล้วพาให้เฝ้ารำพัน
ศึกษามานานวัน ถิ่นขวัญที่เทิดทูน...”



อาจารย์เพ็ญรัตน์ วริรักษ์


ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.นิวัต กลิ่นงาม
พ.ศ.2542-พ.ศ.2546 และ
พ.ศ 2547 - พ.ศ 2552

 ผมมีโอกาสมาเป็นผู้บริหารสูงสุดของสถาบันอันทรงเกียรติแห่งนี้ ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2542-2546 ในตำแหน่งอธิการและอธิการบดีสถาบัน
ราชภัฏนครปฐมและกลับมาอีกวาระหนึ่งในการดำรงตำแหน่งอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ( 2547-2552 ) จึงเห็นพัฒนาการของสถาบันแห่งนี้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2542 จวบจนปัจจุบันผมคิดว่าจุดแข็งที่สำคัญของการพัฒนาสถาบันแห่งนี้เป็นเรื่องของต้นทุนทรัพยากรมนุษย์รวมทั้งการบริหารจัดการทุนมนุษย์ (human capital management)
ซึ่งเป็นการบริหารจัดการเพื่อสร้างคุณภาพและผลการปฏิบัติงานของบุคลากรตั้งแต่การกำหนดและสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถดีที่สุด (talent) การรักษาบุคลากรการพัฒนาและจูงใจให้บุคลากรแสดงศักยภาพสูงสุดของตนเองได้ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทุนมนุษย์ต้องมีแนวคิดที่สร้างสรรค์มีแรงขับความเคลื่อน กระตือรือร้นและให้ความสำคัญต่อการมุ่งสู่ความสำเร็จที่เป็นเลิศผมขอแสดงความชื่นชมกับความทุ่มเทความเสียสละและการอุทิศตนเพื่อสถาบันแห่งนี้ของอดีตผู้บริหารคณาจารย์และบุคลากรทุกระดับที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสถาบันแห่งนี้ให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและสง่างามท่ามกลางการแข่งขันอย่างรอบด้าน

  ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรการตั้งเป้าหมายทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่ชัดเจนเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยฯ
จึงเป็นเรื่องสำคัญ “การตั้งเป้าหมายไปให้ถึงดวงจันทร์ แม้ไปไม่ถึงก็ได้อยู่ท่ามกลางดวงดาว” ระบบการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพที่บุคคลนั้นถนัดแทนที่การศึกษาแบบ routine จะทำให้ผู้เรียนสูญเสียคุณค่าและจุดเด่นของ “ความเป็นมนุษย์” ในระบบเศรษฐกิจใหม่ของโลกและเป็นเพียงเศษซากของอารยธรรมเก่าที่ล้าสมัยในยุคของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพราะปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเป็นแรงงาน
ชุดใหญ่ในสังคมโลกส่วนสังคม Gig Economy ซึ่งเกิดจากปัจจัย 1) การเติบโตของธุรกิจออนไลน์ 2) แนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน (sharing economy) และ 3) การรักอิสระและต้องการใช้ชีวิตสมดุลระหว่างความสุขและการทำงานทั้งสามปัจจัยนี้ นำไปสู่ Gig Worker มหาวิทยาลัยฯต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีหลักสูตรต้องยืดหยุ่นกับเทคโนโลยีเป็น Game Changer เปลี่ยน mind set และ skill set ของคณาจารย์ บุคลากร
และมหาวิทยาลัยฯ ต้องทำหน้าที่ innovative capacity building เพื่อความอยู่รอดอย่างมีคุณภาพและมั่นคงสืบไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัต กลิ่นงาม


ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ศุทธิณีย์ เถาทับนุ่ม

พ.ศ.2546-พ.ศ.2547
  ในฐานะที่เป็นผู้ใช้ชีวิตรับราชการตลอดช่วงเวลา 37 ปี ณ สถานศึกษาแห่งนี้ ที่นี่จึงเปรียบเสมือนบ้านที่ให้ทั้งความสุขความร่มเย็นและความสำเร็จสูงสุดในชีวิตราชการนับตั้งแต่แรกเริ่มได้มีส่วนร่วมในยุคบุกเบิกจากสถานที่เล็กๆ เพียง 13 ไร่เศษ มาสู่สถานที่ใหม่ ซึ่งปัจจุบันขยายพื้นที่เป็น 263 ไร่เศษแล้วจากสถานภาพเบื้องต้นที่ผลิตครูสู่การได้รับการยกฐานะเป็น
มหาวิทยาลัยสมควรบันทึกไว้ว่าช่วงปี พ.ศ. 2546-2547 ถือเป็นช่วง
การเปลี่ยนผ่านที่สำคัญจากสถาบันราชภัฏสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดย
พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
พ.ศ. 2547 และ
ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ส่งผลให้สถาบันราชภัฏนครปฐมได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีฐานะ เป็นนิติบุคคลอย่างสมบูรณ์
ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2547 เป็นต้น


  ช่วงก่อนหน้านั้นการเตรียมพร้อมรับฐานะจำเป็นต้องผนึกกำลังทำงานเรื่องโครงสร้างและภารกิจของสถาบัน อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นกันอย่างหนักและเป็นที่น่าภาคภูมิใจที่ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มที่จนภารกิจลุล่วงตามมาตรฐานอุดมศึกษาโดยเฉพาะภารกิจหลักตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547เป็นที่ตระหนักว่าภายใต้ภารกิจดังกล่าว ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรทุกท่าน ล้วนร่วมแรงร่วมใจในยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้นหากเราอยากได้ “นวัตกรรม” ต้องเริ่มต้นที่ การหา “นวัตกร” เข้ามาร่วมทีม อยากได้ผล ต้องเริ่มจาก “เหตุ” ผู้นำที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง จะได้รับการ ยอมรับจาก คนหมู่มาก เพราะคนหมู่มากไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงนั้น เกิดขึ้นจากคนส่วนน้อยเสมอ และผลิตภัณฑ์ ที่ดีในอนาคต ต้องเหมือน “เมาส์” จากพิมพ์ คีย์บอร์ด เป็น เลื่อนเมาส์ คนใช้เป็นทันที ไม่ต้องมี “คู่มือ” ความง่ายนี่แหละเป็น จุดเริ่มต้น สุดยอดผลิตภัณฑ์แห่งอนาคตดังนั้นผู้นำต้องก้าวข้ามหลุมพรางความชื่นชมจากคนหมู่มาก

  ดิฉันมีความเชื่อมั่น ว่าในโอกาสครบรอบ 82 ปี ผู้บริหารชุดปัจจุบันก็ยังคงอุดมการณ์การพัฒนาคุณภาพในทุกด้าน มีความรู้เท่าทัน จัดการกับ
ด้านต่างๆ และเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสมนำพาความเจริญก้าวหน้ามาสู่มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐมได้อย่างยั่งยืนสืบไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุทธิณีย์ เถาทับนุ่ม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์
พ.ศ.2552-พ.ศ.2560
  8 ปี 8 เดือนของการทำหน้าที่เป็น “อธิการบดี” ผมอยู่กับการเรียนรู้ตลอดเวลา อะไรที่เราไม่รู้ก็ยอมรับว่าไม่รู้เมื่อไม่รู้เราก็ศึกษาเพิ่มเติมบ้างถามผู้รู้บ้างโชคดีประการแรก คือ ผมมีเพื่อนดีมีเครือข่ายดีผมอาจจะไม่ใช่คนเก่งแต่ผมรู้ว่าใครเก่งและจะให้เขามาช่วยผมในเรื่องอะไรโชคดีประการต่อมา คือ การได้รับการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศทำให้ผมสามารถเชื่อมโยงการทำงานบริหารมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรา คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งมีบทบาทในการทำงานร่วมกับท้องถิ่นนำมาขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิ
ภาพมากขึ้นด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากล้นเกล้าฯ
ทั้งสองพระองค์รัชกาลที่ 9 และ รัชกาลที่ 10 เราเป็นมหาวิทยาลัยของท้องถิ่นเราเป็น“คนของพระราชา”จักต้องดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับพสกนิกรของพระองค์ผมพูดเสมอว่าเราต้องแสดงบทบาทนี้ให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมซึ่งไม่ใช่แค่การทำงานตามพันธกิจของการบริการวิชาการแต่จะต้องบูรณาการงานนี้เข้ากับทุกพันธกิจทั้ง
การผลิตบัณฑิต การวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม



ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่ผมคิดยึดมั่น และถือปฏิบัติมาตลอดในการนำองค์กรที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
คือ การสืบสาน ขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลายเป็น “ทางเลือก ทางรอด” ที่สำคัญและประจักษ์ชัดมากขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง
วิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี  พ.ศ. 2540  ซึ่งหลังจากการเผชิญวิกฤติครั้งนี้แล้วอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยก็ได้ตกลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3-4   มาเกือบ 20 ปี จวบจนปัจจุบันเราไม่อาจฝาก
ความหวังและอนาคตของลูกหลานไว้กับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป ด้วยสิ่งนี้เป็นเพียง “ภาพมายา” ภาพหนึ่งในขณะที่เรื่องจริงของเราคือทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ถูกทำลายพิบัติภัยทางธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ความมั่นคงทางอาหารถูกบั่นทอน ฯลฯ ดังนั้นการปลูกฝังสืบสานขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงได้ถูกบูรณาการเข้ากับรายวิชาต่าง ๆ อย่างเชื่อมั่นว่านี่เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ปรัชญาพระราชดำริพระราชปณิธานของพระองค์ยังคงดำรงอยู่อย่างมีชีวิต...หนทางแห่ง“ประโยชน์สุข”ของประชาชนที่แท้จริงในส่วน “ศาสตร์พระราชา” ด้านอื่นๆจริงๆแล้วก็คือการตอบโจทย์ของการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเรื่องนี้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯได้พระราชทานแก่
คนไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 25147 ตามพระราชปณิธาน “ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” กระทั่งต่อมาศาสตร์นี้ได้รับการเชิดชูยกย่องจากเวทีโลกโดยองค์การสหประชาชาติได้
สนับสนุนให้ประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศทั้งยังหยิบยกให้“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”(Sustainable Development Goals : SDG) เป็นวาระสำคัญของโลกนี่คือ ความยิ่งใหญ่ คือความภาคภูมิใจที่เราได้มีโอกาสสาน ต่อในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยของท้องถิ่นนอกจากนั้นแล้วในการเปลี่ยนผ่าน
“การปรับทิศทางของมหาวิทยาลัย”ที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ปรับ ทิศทางมุ่งสู่เป้าหมายคุณภาพ
ทั้ง 3 ประการตามพระราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรจัดการศึกษาที่มีคุณภาพผลิตครูคุณภาพ และ พัฒนาท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพโดยมุ่ง “ ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ” ที่มีทักษะสมรรถนะและความคิดสร้างสรรค์รองรับการพัฒนาประเทศเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานผลิตบัณฑิตครูที่เป็นที่ยอมรับและเป็น“พลังปัญญาของท้องถิ่น”ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจและ สิ่งแวดล้อมภายใต้วัฒนธรรมความเป็นไทยให้มีศักยภาพปรับตัวได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก


ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์


ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว
พ.ศ.2561 -ปัจจุบัน

ประวัติการศึกษา(Educations)
  • ศศ.ด.(ศิลปวัฒนธรรมวิจัย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กศ.ม.(ศิลปศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ศศ.บ.(ศิลปกรรม) สถาบันราชภัฏนครปฐม
บทความวิชาการ
  1. ศิลปศึกษา : จาก จอห์น ดุย สู่ พหุศิลปศึกษา
  2. สังคมไทยกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  3. การวิจัยในมิติวัฒนธรรม
  4. ภูมิปัญญาในกระแสสังคมไทย
  5. ศิลปศึกษาในกระแสสังคมหลังสมัยใหม่
ผลงานวิชาการ
  1. งานวิจัยเรื่อง กระบวนทัศน์ศิลปศึกษาหลังสมัยใหม่ในประเทศไทย
  2. งานวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบผลงานจิตรกรรมสีน้ำด้วย
  3. วิธีการสอนระบบเอ.เอส.ของนักศึกษาสถาบันราชภัฏนครปฐม
  4. ศึกษาลวดลายประดับบนประติมากรรมสมัยทวารวดีเพื่อออกแบบลวดลายเรขศิลป์ 2 มิติ
  5. รูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษากับวิถีชุมชน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา
    ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
สถานที่ทำงาน
      อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม





อนาคตอีก 5 ปีข้างหน้า
แนวทางพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้
นักศึกษามีประสิทธิภาพและศักยภาพมากยิ่งขึ้น

  มหาวิทยาลัยมีแผนยุทธศาสตร์อยู่แล้วแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย คือ แผนที่นำทางที่เราจะเดินเพื่อบรรลุวัตุประสงค์และ
ไม่ให้หลุดจากเป้าหมายที่วางไว้ถ้าพูดเป็นภาษาที่ง่ายขึ้นก็คือทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงสุดและตอบโจทย์กับโลกการทำงาน ในอนาคต โดยคำว่า คุณภาพสูงสุดนั้น ต้องมาจากสิ่งใดดูได้จากสิ่งใดมองหรือเห็นได้จากสิ่งใดและสามารถพิสูจน์ได้จากอะไรสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพราะฉะนั้นการที่องค์กรหรือมหาวิทยาลัยจะมีคุณภาพนั้นหมายถึงจะต้องครอบคลุมในทุกๆด้านดังนั้นเป้าหมายและ
แผนยุทธศาสตร์จึงเป็นเข็มทิศที่ใหญ่ที่สุดที่ทุกคณะสำนักงานสถาบันหรือส่วนงานต่างๆทั้งหมดจะรวมเข้าไปอยู่ในเป้าหมายเดียวกันและสิ่งที่เป็นคำตอบที่ว่านักศึกษาเราจะมีคุณภาพหรือไม่สามารถดูได้จากอะไรนั่นก็คือการที่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมสำเร็จการศึกษาออกไปแล้วสามารถทำงานตรงกับสิ่งที่เรียน


สิ่งนี้จึงเป็นที่มาว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจึงได้พยายามสร้าง
จุดเน้นในแผนยุทธศาสตร์ คือ การผลิตบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและปัจจัยที่จะ
ส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณภาพและประกอบอาชีพได้ตรงตามสาขาที่เรียนต้องเริ่มจากการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยต่อเทคโนโลยีและทันต่อเหตุการณ์ปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวย
ความสะดวกต่างๆทั้งกระบวนการเรียนการสอนอาคารสถานที่ที่ต้อง
เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาและฝึกให้นักศึกษาเป็นนักปฏิบัติการที่ดีทั้งภายในและภายนอกกับ คือ เป็นนักปฏิบัติการกับผู้ประกอบการภายนอกองค์กรหรือบริษัทห้างร้านผู้ประกอบการใดๆและแผนยุทธศาสตร์ในปี 2564 นอกจากจะเป็นแผนที่เร่งดำเนินการในเรื่องนี้แล้วสิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือการทำให้นักศึกษาของเราทุกคนเรียนรู้และใช้ชีวิตอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกันอย่างมีความสุข





แนวทางที่ส่งเสริมเพื่อให้คนรุ่นใหม่สนใจ
ผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้นเป็นไปในทิศทางใด

 มหาวิทยาลัยเรานอกจากผลิตบัณฑิตแล้วยังมีอีกภารกิจอีก
ประการหนึ่ง คือ การลงไปพัฒนาท้องถิ่นตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของโดยการลงไปทำงานกับท้องถิ่นการยกระดับเรื่องคุณภาพชีวิตและ
การพัฒนาท้องถิ่นโดยมีอยู่ 4 ด้านคือ 1.ด้านสังคม 2.ด้านเศรษฐกิจ 3.ด้านสิ่งแวดล้อม 4.ด้านการศึกษา เพราะฉะนั้นสังคมก็จะทุกมิติความเป็นอยู่ของชาวบ้านซึ่งก็จะเห็นในเรื่องการลงไปแก้ไขปัญหาความยากจนยกระดับโรงเรียนเรื่องการอ่านออกเขียนได้รวมไปถึงเรื่องปัญหาของสังคมที่เราทำก็ คือ เรื่องของสุขภาพผู้สูงอายุ
คณะพยาบาลศาสตร์ได้ลงไปทำนิตินี้การลงพื้นที่ในชุมชนเราไม่ได้มองแค่ผู้สูงอายุอย่างเดียวเราจะมองถึงความยากจนเศรษฐกิจและเรื่องของสุขภาพด้วยซึ่งคณะพยาบาลศาสตร์ก็ลงไปสร้างความรู้การดูแล
ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงฉะนั้นการเอาองค์กรความรู้ลงไปช่วยพัฒนาก่อนเป็นอีกหนึ่งทางเพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดี


หลังจากนี้อีกห้าปีท่านอธิการบดีมองว่าการพัฒนาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอาคารสถานที่
ควรมีการพัฒนาไปในรูปแบบใดเพื่อเสริมสร้างศักยภาพเทคโนโลยีดิจิตอลและนวัตกรรม


 จริงๆตั้งใจไว้ว่าเราอยากให้ทุกคนเข้ามาในพื้นที่ 260 ไร่ อยากให้ทุกคนมีสังคมที่ดีเป้าหมายอนาคตของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมหนทาง
การปรับเปลี่ยนอีก 5 ปีข้างหน้าภายใต้แนวคิด ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงพร้อมการเรียนรู้การปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์ประเทศที่สุดพุ่งเป้าถึงประโยชน์ของนักศึกษาเป็นสำคัญการเรียนการสอนการปรับหลักสูตรที่มีคุณภาพและการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับสายงานและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การสร้างอาคารพัฒนานวัตกรรมการเกษตรอาคารปฏิบัติการนวัตกรรมอาหารห้องปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้และการสร้างโรงอาหารที่มีความสะดวกสบายและเพียงพอต่อการรองรับนักศึกษาในอนาคตนโยบายอาหารที่สะอาดวัตถุดิบที่เหมาะสมและมีความหลากหลายเพื่อให้ตอบสนองกับนโยบายอาหารปลอดภัยและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม




อันนี้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานที่อาคาร ปี2564 เราได้อาคารเรียนมาจากงบประมาณ 2563 นักศึกษาสาขาเกษตรฯ สามารถใช้ศูนย์การเรียนรู้สองหลังนั้นซึ่งที่ตรงนั้นจะเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและการเรียนและมีศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วยนักศึกษาสาขาเทคโนโลยี
การผลิตพืชหรือทางวิทยาศาสตร์ก็จะสามารถใช้พื้นที่ตรงนั้นในการปฏิบัติการเพราะฉะนั้นศูนย์นี้จะเป็นศูนย์ที่เป็นรูปแบบพอเพียงในหลวงรัชกาลที่ 9




โดยเพิ่มส่วนการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเข้ามาเสริมมีการใช้ระบบวิศวกรรมที่ใช้ควบคุมระบบการผลิตเช่นในเรื่อง Smart farm กำลังพัฒนาอยู่ในขณะนี้เป็นต้นและก็มีการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์โดยการนำต้นไม้ใหญ่มาปลูกใหม่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยให้เกิดร่มรื่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักศึกษาผู้ปกครองและ บุคคลทั่วไปที่เข้ามาใช้สถานที่มีความสะดวกสบายใกล้ชิดธรรมชาตินอกจากนี้อาคารวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นห้องแลปทางด้านอาหาร ปฏิบัติการ
ด้านอาหารได้มีการเตรียมการในเรื่องของเอาไฟฟ้าลงดินเพื่อปรับสายไฟไว้ใต้ดินทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยสำหรับการเดินทางเท้าเพราะฉะนั้นในอนาคตเราเชื่อว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจะมีการปรับเปลี่ยนเยอะมากเพื่อให้ตรงกับนโยบายของเรา

ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว