รุ่งเรือง



ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ทิศทาง อนาคต และการปรับเปลี่ยน

      จากวิกฤตสถาบันอุดมศึกษาไทยทั้งประเด็นจำนวนนักศึกษา
เข้าใหม่ที่มีแนวโน้มลดลงและการถามหาคุณภาพบัณฑิตที่สำเร็จ
การศึกษาเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลถึงจุดเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศแต่ละแห่งต้องปรับตัวโดยเร่งด่วน
สร้างคุณภาพการยอมรับ และความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
มัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้ปกครอง ผู้ใช้บัณฑิตและสถานประกอบการ
ภายใต้วิกฤตของสถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ก็ยังมีโอกาสนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง
      สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์บดินทรเทพยวรางกูร
ทรงห่วงใยประชาชนในชุมชนท้องถิ่น และให้ความสำคัญกับการศึกษา
ทรงมีพระราโชบายด้านการศึกษา และให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทำงาน

โดยมีเป้าหมาย คือ
1) ผลิตบัณฑิตคุณภาพ
2) ยกระดับคุณภาพการศึกษา
3) พัฒนาท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพจึงนับเป็นโอกาส และเน้นย้ำ
ถึงความชัดเจนในบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ
ที่จะได้ดำเนินการปรับทิศทางของตนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
เพื่อให้เป็นพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติ

        มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเองนั้น ก็ได้เล็งเห็นถึงวิกฤต
และได้เริ่มปรับตัวมาก่อนได้รับพระราโชบาย ดังนั้นเมื่อได้รับ
พระราโชบาย เราก็ยิ่งมั่นใจและมีทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

      นอกจากนั้น ในด้านการพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ
ที่มีคุณภาพโดยปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยรองรับ
การพัฒนาประเทศ ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้
ร่วมมือกับสถานประกอบการ และใช้โจทย์ปัญหาในท้องถิ่น
ในการเรียนรู้ของนักศึกษา นอกจากนั้นยังพัฒนาห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการและครุภัณฑ์การศึกษาให้สนับสนุนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ

ผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ “พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา”



บทสัมภาษณ์ของ อาจารย์ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

โครงการปรับสถาปัตยกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมในอนาคต

   เป้าหมายอนาคตของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม หนทางการปรับเปลี่ยนอีก 5 ปีข้างหน้าภายใต้แนวคิด
ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนเปลี่ยนแปลง พร้อมการเรียนรู้
การปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์ประเทศที่สุด

พุ่งเป้าถึงประโยชน์ของนักศึกษาเป็นสำคัญ

   การเรียนการสอน การปรับหลักสูตรที่มีคุณภาพ
และการผลิตบัณฑิตการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับสายงาน คุณภาพสิ่งแวดล้อมการสร้างอาคารพัฒนานวัตกรรม
การเกษตร อาคารปฏิบัติการนวัตกรรมอาหาร
ห้องปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้และการสร้างโรงอาหาร
ที่มีความสะดวกสบายเพียงพอต่อการรองรับนักศึกษา
ในอนาคตนโยบายอาหารที่สะอาดวัตถุดิบที่เหมาะสม
และมีความหลากหลายเพื่อให้ตอบสนองกับนโยบาย
อาหารปลอดภัยและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


โครงการปรับปรุงโรงอาหารในอนาคต




โครงการปรับปรุงศาลาเกาะลอย



โครงการปรับปรุงโดม ชั้น 1 อาคารกิจการนักศึกษา


โครงการปรับปรุงชั้น 1 อาคารศูนย์ภาษา ศูนย์คอมพิวเตอร์ และหอประชุม


ทางเข้าป้อมยามใหม่






แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
พ.ศ. 2562 - 2566

ได้อาศัยกรอบแนวคิดศาสตร์
พระราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมนิทรมหาภูมิพลอดลุยเดช
และพระราโชบายด้านการศึกษาของ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ์บดินทรเทพยวรางกูร
ที่ทรงมีพระราชดำรัสผ่านองคมนตรีให้แนะนำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ทั้ง 38 แห่ง ให้“ทำงานให้เข้าเป้าในการยกระดับการศึกษาและพัฒนา
ท้องถิ่นในท้องที่ตน โดยมีเป้าหมายคุณภาพ 3 ประการ
1) ผลิตครูคุณภาพ
2) จัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
3) พัฒนาท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ
เป็นกรอบแนวคิดในการปรับ ทิศทางมหาวิทยาลัยฯ
นอกจากนั้น แนวคิดการพัฒนาประเทศไทย 4.0
ที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งจากภายใน (Strength from Within)
ที่เชื่อมโยงกับประชาคมโลก (Connect to the World) โดยมี
โครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศที่ เข้มแข็ง
ก็จะเกิดการพัฒนาขีดความสามารถ และมีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ
เมื่อเผชิญกับโอกาส และภัยคุกคาม จากโลกภายนอก
โดยเฉพาะวาระที่สำคัญยิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษา
คือ การเตรียมคนไทย 4.0 ซึ่งเปรียบเสมือนการตระเตรียม
เมล็ดพันธุ์ใหม่ ด้วยการบ่มเพาะคนไทยให้เป็น
“มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่ไปกับการพัฒนา
“คนไทย 4.0 สู่โลกที่หนึ่ง” คือ เป็นคนไทยที่มีปัญญา
ที่เฉียบแหลม (Head) มีทักษะที่เห็นผล (Hand) มีสุขภาพ
ที่แข็งแรง (Health) และมีจิตใจที่งดงาม (Heart)
ส่วนบริบทในเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมอยู่ใน
จังหวัดนครปฐมที่มี วิสัยทัศน์ “เมืองเกษตรและอุตสาหกรรม
ปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม
ศูนย์กลางการศึกษา และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี”
จึงได้นำมาสู่การปรับทิศทางของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ที่ “มุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติและเป็นแหล่งปัญญาของท้องถิ่น
รองรับแนวทางการพัฒนาประเทศไทย 4.0”
โดยแบ่งเป็น 6 ประเด็นดังนี้

1. ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ
2. ยกระดับคุณภาพการศึกษา และเป็นศูนย์กลางการศึกษาของท้องถิ่น
3. สร้างมูลค่าเพิ่ม และยกระดับสินค้าเกษตรและอาหาร
4. สร้างต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม
5. ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
6. เทคโนโลยีดิจิตัล และนวัตกรรมเพื่อ เสริมสร้างศักยภาพของท้องถิ่น
และอตุสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

      ในการผลิตครูคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มุ่งเน้นความมั่นคงทางการศึกษา ความมั่งคั่ง ทางความรู้
และความยั่งยืนของชื่อเสียงมหาวิทยาลัยในการผลิต และ
พัฒนาบัณฑิตครูโดยพัฒนาหลักสูตรสองปริญญา
      หลักสูตรสองภาษาและด้วยโครงการท้องถิ่นร่วมพัฒนา
มุ่งเน้นความมั่นคงทางการศึกษา ความมั่งคั่ง ทางความรู้
และโครงการ Advanced Placement Program
มุ่งเน้นความมั่นคงทางการศึกษา ความมั่งคั่ง ทางความรู้
ด้วยหลักการ“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ยกระดับโรงเรียน
เป้าหมายทั้งระบบและพัฒนาครูด้วยกระบวนการ
Coaching and Mentoring
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้

กำหนดให้ภาคกลางเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำนครปฐม
เป็นจังหวัดปริมณฑลในภาคกลาง มหาวิทยาลัยฯ
จึงมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย โดยยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร
ให้มีความปลอดภัยและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร คุณภาพเพื่อเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมในพื้นที่แบบครบวงจร จึงมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหาร ปลอดภัย ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง
ไปจนถึงปลายทาง เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
ด้านการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยฯ มุ่งสร้างต้นแบบ
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวมโดยปรับปรุงฟื้นฟู พัฒนาการท่องเที่ยวนำไปสู่การสร้างฐานรายได้ของ ประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน มุ่งสร้างต้นแบบ
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี ทั้งกาย ใจ จิตและปัญญาของนักท่องเที่ยว
และคุณภาพชีวิตของชุมชน
ในปี 2568 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น

                สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ตระหนักถึงคุณภาพชีวิต
ของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จึงมุ่งเน้นยกระดับคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุโดยการผลิตหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุทั้งระยะสั้น
และระยะยาวพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
(ระยะสุดท้าย) ใช้โปรแกรมส่งเสริมและปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพ ผ่านระบบดิจิทัล คู่มือดูแลผู้สูงอายุ
สร้างศูนย์เรียนรู้ระบบดูแลสูงอายุ สร้างชุมชน
ต้นแบบผู้สูงอายุจิตอาสา “เพื่อนช่วยเพื่อน”
ได้กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายของการพัฒนาดิจิทัลเพื่อ

เศรษฐกิจและสังคม มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน
ระยะยาวอย่างยั่งยืนให้สอดคล้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์
ชาติ 20 ปี ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ ได้ตอบรับนโยบายดังกล่าว
โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเป็นฐานในการพัฒนา
ด้านต่างๆ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่น
ในพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยฯ เป็นแหล่งรวมข้อมูล
เพื่อการวิเคราะห์พัฒนาชุมชนท้องถิ่นหนุนเสริมในด้านต่างๆ
ให้มีความเข้มแข็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ
รองรับการพัฒนาประเทศและเป็นพลังปัญญาของท้องถิ่น”
โดยมี 4 ประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าหมาย ดังต่อไปนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1
ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีศักยภาพรองรับ
การพัฒนาประเทศ เป้าประสงค์ บัณฑิต
มีทักษะ สมรรถนะ และความคิดสร้างสรรค์
เป็นที่ต้องการ ของตลาดแรงงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2
ยกระดับคุณภาพการศึกษาและเป็นศูนย์กลาง
การพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น เป้าประสงค์
สถานศึกษาได้รับการยกระดับคุณภาพการศึกษา
และบัณฑิต ครูเป็นที่ยอมรับในระดับ
ภูมิภาคตะวันตก
ยุทธศาสตร์ที่ 3
ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนท้องถิ่นเป้าประสงค์
ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี
ทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
ภายใต้วัฒนธรรมความเป็นไทย และสามารถ
ปรับตัว เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
ยุทธศาสตร์ที่ 4
มหาวิทยาลัยแห่งความสุขมีเสถียรภาพ
และบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ บุคลากรมีทักษะและสมรรถนะ
จิตุบริการ รักองค์กร มีความสุขในการทำงาน
ดำเนินตามค่านิยมหลัก NPRU
และได้รับสวัสดิการที่ดี

         โดยมีการกำหนดตัวชี้วัด และมอบหมายรองอธิการบดี
เป็นผู้กำกับและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนในแต่ละปีจะมี
การประเมินความสำเร็จของ การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ฯ
โดยกำหนดเป้าหมายในแต่ละปีไว้


คณะครุศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ ชนะสิทธิ์
คณบดีคณะครุศาสตร์

ปรัชญา
“มุ่งสร้างครูดี มีความสามารถ
ฉลาดใช้ภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาสังคม”

เอกลักษณ์
จิตอาสา พัฒนาท้องถิ่น

อัตลักษณ์
“มีจิตวิญญาณความเป็นครู”
ประกอบด้วยคุณลักษณะต่อไปนี้
คือ มีความเมตตาต่อศิษย์
บุคลิกภาพดี
มีความรอบรู้ในสาขาวิชาชีพตน
ถ่ายทอดเป็น มีเทคนิคการสอนดี
และหลากหลาย

วิสัยทัศน์
“ภายในปี 2561 คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
จะเป็นต้นแบบในการผลิต ครูและพัฒนา
วิชาชีพครู และพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา
เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่ายั่งยืน





ปรัชญาของคณะครุศาสตร์ คือ มุ่งสร้างคนดี มีความสามารถ
ฉลาดใช้ภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาสังคม ภายใน
พันธกิจ

1. ผลิตบัณฑิตสาขาครุศาสตร์
2. พัฒนาครู และพัฒนาบุคลากร ทางการศึกษา
3. วิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา
4. บริหารวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น
5. ส่งสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กร

ประเด็นยุทธศาสตร์

1. การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และมีสมรรถนะ
ตามมาตรฐานวิชาชีพครูและกรอบมาตรฐาน
คุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร
ทางการศึกษาและการบริการ วิชาการ
แก่ชุมชนและท้องถิ่น
3. วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา
4. การบริหารจัดการองค์กร



คณะครุศาสตร์มีหลักสูตรที่เปิดสอนในปัจจุบัน 8 หลักสูตร

ประกอบด้วยหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.5 ปี)
จำนวน 3 หลักสูตร คือ
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรพลศึกษา
หลักสูตรการประถมศึกษาหลักสูตร
ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศศ.บ.) จำนวน 1 หลักสูตรคือ
หลักสูตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
นอกจากนี้
ยังมีหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) 2 หลักสูตรคือ
หลักสูตรการบริหารการศึกษา
หลักสูตรและการสอนสำหรับหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) มี 1 หลักสูตรคือ
หลักสูตรการบริหารการศึกษาปี 2561 คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นต้นแบบในการผลิตครู
และพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
อย่างยั่งยืน

มีพันธกิจในดำเนินงาน 7 ประการคือ

1) ผลิตบัณฑิตสาขาการศึกษา
2) เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
3) พัฒนาครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
4) วิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา
5) บริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น
6) ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
7) พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กร

1. การผลิตบัณฑิต หรือการพิจารณาจากภายใน
(Internal) คณะครุศาสตร์ได้รับความร่วมมือจาก
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์คณะวิทยาการจัดการ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการร่วมผลิต
นักศึกษาด้านครุศาสตร์บัณฑิตรวมทั้งสิ้น 17 สาขา
โดยร่วมกันขับเคลื่อน และพัฒนาบัณฑิตให้เป็นบัณฑิต
นักปฏิบัติตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
และสังคมโดยยึดหลักความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
มีการพัฒนา โดยนำทฤษฎีเชิงระบบมาบริหารจัดการ
ตั้งแต่ Input ซึ่งประกอบด้วย นักศึกษา อาจารย์
และ Infrastructure

มาขับเคลื่อนโดยมีกระบวนการ (Process) พัฒนา
คือ พัฒนาหลักสูตร 2 ปริญญา/หลักสูตร Advanced
Placement Program โครงการท้องถิ่นร่วมพัฒนา
และหลักสูตรสองภาษา จาก Input และ Process
ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดผลผลิต คือ จำนวนนักศึกษาที่
จบการศึกษาและสามารถบรรจุเข้ารับราชการเป็นครูผู้ช่วย
เพื่อพัฒนาท้องถิ่นรวมถึงการมีงานทำร้อยละ 87.85
และผลลัพธ์ที่ได้คือคุณภาพของบัณฑิต ทั้งนี้ใน
ปีการศึกษา 2561 คณะมีการขับเคลื่อนบัณฑิตนักปฏิบัติ
โดยมีตัวชี้วัดชัดเจนในแต่ละชั้นปี
2. การพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
ทั้งระบบ หรือการพิจารณาจากภายนอก (External)
คณะครุศาสตร์มีเป้าประสงค์ให้มหาวิทยาลัยเป็น
ศูนย์กลางในการให้บริการทางวิชาการทางการศึกษา
ในภูมิภาคตะวันตกโดยใช้หลักการเข้าใจ เข้าถึง
และพัฒนา สถานศึกษาโดยใช้หลักการพัฒนา
ตามความต้องการของสถานศึกษาและความร่วมมือ
ระหว่างสถานศึกษา คณะ มหาวิทยาลัย และชุมชน
ทั้งนี้ในการพัฒนาครู คณะครุศาสตร์ได้รับความร่วมมือ
จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ร่วมพัฒนาสถานศึกษาและครูประจำการอันประกอบด้วย

1) การยกระดับคุณภาพสถานศึกษาทั้งระบบใน
   เขตพื้นที่บริการ (นครปฐม สุพรรณบุรีสมุทรสาคร)
2) การยกระดับคุณภาพครูในเขตพื้นที่ กทม.
   (4 เขต หนองแขม บางบอน บางแค ทวีวัฒนา)
3) การพัฒนาครูคืนถิ่นในสถานศึกษาที่ได้รับ
   การบรรจุแล้วตั้งแต่ปี 2559-2560)
4) การพัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนา โดยมหาวิทยาลัย
   เป็นพี่เลี้ยง (Partnership School)
5) Cluster การศึกษา
6) การพัฒนาโรงเรียน ตชด. และโรงเรียนพระราชดำริ
7) การพัฒนาครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนที่เป็น
   แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของ มรน.
8) การพัฒนาครูประจำการ (โครงการระยะสั้น)
9) การพัฒนาครูประจำการ (คูปองครู)

ผลงานของนักศึกษา

สำหรับผลงานของอาจารย์ที่ได้รับรางวัลในระดับ
ชาติและนานาชาติ
เช่น
รองศาสตราจารย์ ดร.สมจิต จันทร์ฉาย
ได้รับ รางวัลบทความวิจัยดีเด่น สาขาหลักสูตร
และ การสอน การประชุมวิชาการระดับชาติ
The NPRU Academic Conference 2017
ครั้งที่ 9 / โครงการหลักสูตรเพื่อพัฒนา
ข้าราชการครู ปีงบประมาณ 2560
อาจารย์ ดร.จินตนา ศิริธัญญารัตน์ หลักสูตร
จัดโครงการ “กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม
และพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
และไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
ในวิชาชีพครู (PLC)” มีผลการประเมินความพึงพอใจสูงสุด เป็นต้น
นอกจากนี้ อาจารย์ในคณะยังได้รับงานวิจัยและทุนวิจัย
หลากหลายทั้งทุนภายในมหาวิทยาลัยและทุนภายนอก
มหาวิทยาลัย เช่น ทุนงบประมาณแผ่นดิน
ทุนงบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัย
ทุน สกว. สกอ. สมศ. พัฒนาสังคม
และเศรษฐกิจ ของจังหวัดนครปฐม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
อาจารย์ ดร.นิพล เชื้อเมืองพาน
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้กำหนดปรัชญา
พันธกิจ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และวิสัยทัศน์ไว้ดังต่อไปนี้

ปรัชญา
“สร้างคนคุณภาพคู่คุณธรรม
พัฒนาท้องถิ่นสู่สากล”
พันธกิจ
  1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพคู่คุณธรรมสอดคล้อง
    กับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
    แห่งชาติ และขยายโอกาสทางการศึกษา
  2. ผลิตบัณฑิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
  3. ทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญา
    ท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  4. วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และวิจัยท้องถิ่น
    แบบบูรณาการ
  5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
    และประสิทธิผล
  6. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพท้องถิ่นตาม
    หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสืบสาน
    โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เอกลักษณ์
“บูรณาการความรู้และศิลปวัฒนธรรม
เพื่อพัฒนาท้องถิ่น”
อัตลักษณ์
“จิตอาสา พัฒนาท้องถิ่น”
วิสัยทัศน์
“มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นที่
ยอมรับในภูมิภาคตะวันตก”

ประเด็นยุทธศาสตร์
  1. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและนักศึกษาให้
    เก่ง ดี มีสุข
  2. บูรณาการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาชุมชนให้
    มีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้
  3. สืบสานศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการจัดการ
    สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  4. สร้างระบบบริหารจัดการองค์กรที่ดีและเป็น
    องค์กรแห่งการเรียนรู้




แนวคิดการบริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ด้วยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีอัตลักษณ์ในศาสตร์
ที่หลากหลายโดยเฉพาะภาษา สังคมและวัฒนธรรมและสามารถ
เชื่อมโยงกันระหว่างศาสตร์ทั้งในระหว่างคณะฯและต่างคณะ
ทำให้เกิดความโดดเด่นในการบูรณาการศาสตร์สู่การบริหาร
การจัดการโดยมีแนวคิดหลักการบริหารคณะฯ ตามแนวคิด
ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความยุติธรรม เน้นการบริหารงาน แบบมีส่วนร่วม


ภายใต้หลักการดังต่อไปนี้ คือ

1. สร้างสรรค์ (Creativity)
หมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะ พัฒนาการบริหารงานในคณะฯ
ทั้งในด้านการเรียนการ สอนที่เน้น ให้นักศึกษาเป็นคนดี
และคนเก่ง ผ่านการออกแบบระบบการบริหารการศึกษา
ที่สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน และยุทธศาสตร์
ของมหาวิทยาลัยและประเทศรวมทั้งการปลูกจิตสำนึกที่ดี
ให้นักศึกษาด้านการมีจิตอาสา การเชื่อมโยงระบบงานวิจัย
ของคณาจารย์ตั้งแต่การพัฒนานักวิจัยหน้าใหม่จนถึง
ระบบเผยแพร่ผลงานวิชาการ การส่งเสริมผลงานวิชาการ
การดำเนินงานโดยนำระบบเทคโนโลยี ระบบการสื่อสารยุค ๔.๐ เข้ามาอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณาจารย์
และบุคลากร และการเชื่อมโยงงานด้านการบริการวิชาการ
การสืบสานศิลปวัฒนธรรมและโครงการอันเนื่องมาจาก
แนวพระราชดำริเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ทั้งนี้โดยอยู่บนหลัก
ความถูกต้อง ตามกฎระเบียบ และนโยบายของมหาวิทยาลัย

2. เป็นธรรม (Justice) หมายถึง การบริหารงานที่ยึดหลัก
ของความเป็นธรรมในด้านผลประโยชน์ (Distributive justice)
และความเป็นธรรมทางด้านกระบวนการปฏิบัติ
(Procedural justice) โดยปราศจากการเลือกที่รักมักที่ชัง
ทั้งนี้โดยอยู่บนหลักความถูกต้องตามกฎระเบียบ และนโยบาย
ของมหาวิทยาลัย

3. โปร่งใส (Transparency) หมายถึง การบริหารงานที่เน้น
การเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ ต่อบุคลากร นักศึกษา
และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้โดยอยู่บนหลักความถูกต้องตาม
กฎระเบียบและนโยบายของมหาวิทยาลัย

4. กระจายอำนาจ (Decentralization)
หมายถึง การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจ
ในการตัดสินใจไปยังตำแหน่งงานและกลุ่มงานที่กำหนด
ที่เกี่ยวข้อง ในเชิงปฏิบัติ เพื่อประสิทธิภาพในการบริหาร
และการดำเนินงาน นอกจากนี้ความเป็นเอกลักษณ์
ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เกิดจาก
ความผสมผสานศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน อันได้แก่

ศาสตร์ด้านภาษา
ศาสตร์ด้านสุนทรียะ
ศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ
ศาสตร์ด้านการศึกษาและสังคมศาสตร์
ที่สามารถเชื่อมโยงต่อการผลิตและพัฒนา
นักศึกษาและระบบการศึกษาได้อย่างดี
ภายใต้ศาสตร์แห่ง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชการที่ ๙
ทั้งนี้คณะฯ ได้ดำเนินโครงการ กิจกรรม
และโดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอน
ที่สอดแทรกความเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ
และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้าง
บัณฑิตให้มีคุณภาพ


ทั้งนี้สามารถสรุปแผนการ บริหารคณะฯ 5 ด้าน ดังนี้
  1. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร
    และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะฯ และมหาวิทยาลัยฯ
  2. พัฒนาอาจารย์ให้มีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการตามเกณฑ์
    สกอ. และเพิ่มศักยภาพของอาจารย์ ด้านวิชาชีพเทคโนโลยี
    และภาษาต่างประเทศ
  3. ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เชิงวิชาการ
    ที่เป็น ประโยชน์ต่อชุมชน และประเทศ
  4. พัฒนาการบริหารจัดการด้วยระบบ e-document
    และยึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคลากรและศิษย์เก่า
    ด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส
  5. บูรณาการด้านการบริการวิชาการ การสืบสานศิลปวัฒนธรรม
    และโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ โควินทวัฒน์
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนด ปรัชญา ค่านิยมหลัก เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ไว้ดังต่อไปนี้

ปรัชญา
“ วิทยาศาสตร์สร้างคน คิดค้น
ภูมิปัญญา พัฒนาท้องถิ่น”
พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพคู่คุณธรรม
2. วิจัยและพัฒนาท้องถิ่นสู่มาตรฐานสากล
3.บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เอกลักษณ์
“บูรณาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยี”
อัตลักษณ์
“พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา”
วิสัยทัศน์
“ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
และประเทศไทย ๔.๐”ค่านิยมหลัก Success
การมุ่งสู่ความสำเร็จตามพันธกิจหลัก ขององค์กร Convergence การบูรณาการความคิดที่หลากหลาย สู่จุดหมายเดียวกัน Innovation การสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่การพัฒนาท้องถิ่น

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กำลังเผชิญกับ
ปัญหาหลายด้าน ได้แก่ จำนวนนักศึกษา คุณภาพ บัณฑิต
อัตรากำลัง และการสร้างความหลากหลายทางการศึกษา
ดังนั้นเพื่อให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถ
ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับในสังคม
เพื่อรองรับประเทศไทย 4.0
ได้กำหนดตามวิสัยทัศน์


“ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ เพื่อพัฒนาท้องถิ่น และประเทศไทย 4.0”

      ในการพัฒนางานของคณะฯ ได้จัดแนวทางในการ พัฒนาเพื่อให้เกิดผลนั้น การผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ คือ
“ปฏิบัติได้จริง ใฝ่เรียนรู้ มีวินัยและยึดมั่นคุณธรรม”
การพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์
สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และสร้างนวัตกรรมได้พัฒนาศักยภาพ
บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้มีความพร้อม
ในด้านต่างๆ สนับสนุนงานบริการทางวิชาการที่เป็น
ความต้องการของชุมชน และสร้างรายได้เข้ามหาวิทยาลัย
สนับสนุนงานวิจัยของทุกสาขาวิชาให้เป็นที่ยอมรับ
โดยเน้นงานวิจัยที่ตอบโจทย์ท้องถิ่นชุมชน และอุตสาหกรรม
รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการทำวิจัยพัฒนาระบบการบริหารงาน
และการจัดการที่สะดวก และรวดเร็ว โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อนำไปสู่ระบบบริการแบบ e-Service และ One-Stop
Service สนับสนุนให้ บุคลากรและนักศึกษา มีความเข้าใจ
ในคุณธรรมจริยธรรม จิตอาสา และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

ในปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี 24 หลักสูตร ระดับ ปริญญาโท 2 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก
1 หลักสูตร มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 4,697 คน มีอาจารย์ได้รับตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
จำนวน 36 คน และรองศาสตราจารย์ จำนวน 4 คน
รวมทั้งสิ้น 40 คน

คณะวิทยาการจัดการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทนา วัฒนะกาญจนะ
คณบดีคณะวิทยาการจัดการ

ปรัชญา
“มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
สร้างงานวิจัย พัฒนาท้องถิ่น”
พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพคู่คุณธรรม
2. วิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
3. บริการทางวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
4. สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
5. บริหารจัดการด้วยรูปแบบ
SMART Faculty และหลักธรรมาภิบาล
เอกลักษณ์
“บูรณาการความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่น”
อัตลักษณ์
“พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา”
วิสัยทัศน์
“มุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ”
ประเด็นยุทธศาสตร์
1. ยกระดับคุณภาพบัณฑิตนักปฏิบัติให้มี
ศักยภาพพร้อมทำงานในระดับสากล
2. วิจัยเพื่อมุ่งเป็นแหล่งความรู้ของท้องถิ่น
3. บริการวิชาการเพื่อมุ่งเป็นแหล่งความรู้
ที่เป็นที่ยอมรับของท้องถิ่น
4. สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยรูปแบบ
SMART Faculty และหลักธรรมาภิบาล

คณะวิทยาการจัดการ กำหนดทิศทางในการ
พัฒนาบัณฑิตสู่การเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ
ที่มีศักยภาพและเป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่นรองรับ
แนวทางการพัฒนาประเทศไทย 4.0 โดยมีปรัชญา

“มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
สร้างงานวิจัยพัฒนาท้องถิ่น”

และมีวิสัยทัศน์ “มุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ”
โดยจำแนกเป็นกรอบหลักของคณะเพื่อ
ใช้เป็น Rood Map สู่การเป็น SMART FACULTY ดังนี้

1. การจัดการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี
10 หลักสูตร และระดับปริญญาโท 1 หลักสูตรได้แก่

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
และสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

หลักสูตร

นิเทศศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาการประชาสัมพันธ์
แขนงวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
หลักสูตร บัญชีบัณฑิตและหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาธุรกิจศึกษา มีคณาจารย์ จำนวน 66 คน
จำแนกเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 8 คน
รองศาสตราจารย์ จำนวน 2 คน และอาจารย์มี
คุณวุฒิ ปริญญาเอก จำนวน 29 คน ระดับปริญญาโท
จำนวน 27 คน มุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ
มืออาชีพที่มีศักยภาพตามศาสตร์ มีคุณธรรม
จริยธรรม และมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต
และการทำงานที่เน้นทักษะเพื่อให้เกิด รู้ลึก คิดเป็น
และปฏิบัติได้ โดยมีกระบวนการในการจัดเตรียม
ด้านผู้เรียน ผู้สอน หลักสูตรและกระบวนการพัฒนา
การเรียนการสอนดังนี้
1.1 ด้านผู้เรียน

    มุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพมีความรู้ เป็นคุณลักษณะ ที่เน้นความรู้พื้นฐานทั่วไปและ ความรู้เฉพาะในวิชาชีพของแต่ละสาขารวมทั้ง ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานและ ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร ทักษะพื้นฐาน ที่จำเป็นทักษะการปฏิบัติงาน ได้ตามวิชาชีพมี คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ เสียสละและมีจรรยาบรรณเป็นพื้นฐาน โดยการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด และสร้างสรรค์ องค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถสร้างงานเอง ได้มุ่งเน้นทักษะ ความสามารถในอาชีพและการเป็น ผู้ประกอบการรุ่นใหม่

โดยจัดให้นักศึกษาทุกชั้นปีจัดทำกิจกรรมธุรกิจ จำลองชื่อก้าวแรก ของการเป็นนักปฏิบัติมืออาชีพ มีการวางแผน สามารถแก้ปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นได้ และเน้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามศาสตร์ ในสถานประกอบการภายนอก
ในช่วงปิดภาคเรียนเป็นอย่างน้อย 1 เดือนของนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 เป็นเวลา 4 เดือนเต็ม ให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้อย่าง มีความสุข เพื่อปลูกฝังให้รักการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อการเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ มืออาชีพ ที่มีคุณภาพ



1.2 ด้านผู้สอน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในเรื่อง
คุณภาพ ผู้สอนจะต้องมีคุณภาพโดยการ
พัฒนาทั้งคุณวุฒิผลงานทางวิชาการ
และขีดความสามารถในการทำวิจัยด้วย ดังนี้

S-Skills ต้องมีทักษะที่หลากหลาย
สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
เพื่อรองรับต่อการทำงานตามภารกิจ
ต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ

M-Mindset มีทัศนคติและเจตคติที่ดี
ต่อวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรมรักองค์กรและ
สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

A-Academic มุ่งเน้นการพัฒนาตนเอง
อย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการฝึกอบรม
การศึกษาต่อ และการทำผลงานทางวิชาการ

R-Research มุ่งเน้นการสร้างงานวิจัย
โดยให้แทรกเข้าไปในทุกภารกิจ

T-Technology มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี
สารสนเทศเข้ามาช่วยในทำงานตามภารกิจ

1.3 ด้านหลักสูตรแลกระบวนการเรียนการสอน

เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็นควบคู่กับการมีคุณธรรม
โดยการสร้างหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาตรีทั้งภาษาไทย และ
ภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ
โดยหลักสูตรภาษาไทย ได้แก่ หลักสูตรการจัดการธุรกิจการค้า
สมัยใหม่และหลักสูตรภาษาอังกฤษ ได้แก่ หลักสูตรแบบบูรณาการ
ระหว่างสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ฯ และธุรกิจระหว่างประเทศ
การพัฒนาอาจารย์ให้มีความพร้อมในการสอนด้วยภาษาอังกฤษ
สามารถพัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ การกำหนด
มาตรฐานความรู้ทักษะของนักศึกษาแต่ละหลักสูตรการพัฒนา
ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์พร้อมรองรับการจัดการเรียนการสอน
ที่เน้นปฏิบัติการสร้างมาตรฐานบัณฑิตแต่ละสาขา ด้วยการกำหนด
มาตรฐานความรู้ ทักษะของนักศึกษาแต่ละหลักสูตร การจัดให้
มีการสอบ Exit Exam ตามมาตรฐาน สาขาวิชาการสนับสนุน
ให้นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวดระดับชาติและระดับนานาชาติ
การพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อให้ผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ
และการจัดอบรมและทดสอบมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


2. การวิจัย

เพื่อมุ่งเป็นแหล่งความรู้ของท้องถิ่นโดยคณะฯ สนับสนุนให้
คณาจารย์มีการสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้อง กับแนวทาง
การพัฒนาประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คณาจารย์
และนักศึกษามีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถตีพิมพ์เผยแพร่
ในวารสารวิชาการหรือในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ
และระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับได้อย่างต่อเนื่อง เช่น
โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการวิจัย เพื่อเสริมสร้าง
ความรู้และทักษะ การวิจัยตามความต้องการคณาจารย์ อาทิ
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
การใช้โปรแกรม endnote การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ

การเลือกใช้สถิติและการประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS
โครงการคลินิกวิจัย การจัดกิจกรรม การลงพื้นที่และประชุม
คณาจารย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาชุดโครงการวิจัย
การจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย “publication clinic”
การจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อพัฒนาศักยภาพอาจารย์รุ่นใหม่
ด้านการวิจัย การจัดให้ระบบการยกย่องอาจารย์ที่ได้รับทุน
และรางวัล โครงการจัดทำวารสารวิชาการของคณะฯ
ซึ่งปัจจุบันได้ผ่านการรับรองมาตรฐานวารสารวิชาการ
อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2

3. การให้บริหารวิชาการและศิลปวัฒนธรรม

การบริการวิชาการเพื่อมุ่งเป็นแหล่งความรู้ที่เป็นที่ยอมรับของ
ท้องถิ่น ซึ่งคณะฯ มีแนวคิดในการจัดทำหลักสูตรหรือโครงการ
ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น ระยะยาว สำหรับคนวัยทำงานและประชาชน
ในชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้บริการวิชาการทั้งแบบให้เปล่า
และแบบหารายได้ เช่น โครงการสำรวจความต้องการ
ของผู้ประกอบการ SMEs

ในจังหวัดนครปฐม การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน
ภายในและหน่วยงาน ภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการ
จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นตามความต้องการ มีเป้าหมาย
โดยนักศึกษา และบุคลากรมีส่วนร่วมในการสืบสานศิลปวัฒนธรรม
ท้องถิ่น และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและศาสตร์พระราชา
ในรูปแบบต่างๆ อาทิ โครงการส่งเสริมการแต่งกายด้วยผ้าไทย
การจัดโครงการสืบสานประเพณีสงกรานต์ จัดโครงการจิตอาสา
และการเข้าร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอกในการส่งเสริม
นักศึกษาเข้าร่วมโครงการต่างๆ อาทิ การประกวดมารยาท เป็นต้น


4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยรูปแบบ
SMART Faculty และหลักธรรมาภิบาล

มุ่งเน้นการดำเนินงาน อย่างทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่เชื่อมโยงทุกพันธกิจ การให้บริการที่เป็นเลิศมีการจัดสรร
ทรัพยากรในการทำงานที่ทันสมัยเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ
และเน้นการส่งเสริมให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างเต็ม
ศักยภาพบนพื้นฐานของการทำงานเป็นทีมและยึดหลักตาม
ธรรมาภิบาลเพื่อก่อให้เกิดสมรรถนะหลัก(competency-based)
ในการดำเนินงานควบคู่ไปพร้อมกับให้ความสำคัญกับเสริมสร้าง
ความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร และการพัฒนา
การประชาสัมพันธผ่านระบบออนไลน์


5. การประกันคุณภาพการศึกษา คณะมีการตรวจประเมิน
การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

ทั้งในระดับหลักสูตรและคณะ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก
ซึ่งผลการประเมินในระดับหลักสูตรทั้ง 10 หลักสูตร มีผล
การประเมินในระดับที่สูงขึ้นทุกหลักสูตร ทำให้ผลการประเมิน
ในระดับคณะ มีคะแนนเฉลี่ย 4.11 อยู่ในระดับดี
ในปีการศึกษา 2559 ยังมีโครงการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา (Improvement Plan)และพัฒนาระบบการประกัน
คุณภาพการศึกษา คณะวิทยาการจัดการ ประจำปีการศึกษา 2560 ต่อไป

การกำหนดทิศทางการพัฒนา
บัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ
ประเทศไทย 4.0



คณะวิทยาการจัดการ ในช่วง 4 ปี (พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2566)
เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อการเตรียมความพร้อมรับ กับสภาวการณ์ที่มี
การเปลี่ยนแปลง การแข่งขัน การ Benchmarking
ที่นำมาใช้เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทุกด้าน
และเพื่อการเป็น SMART FACULTY
คณะพยาบาลศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก บัวเจริญ
คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์

ปรัชญา
“สนับสนุนการเรียนรู้ เสริมสร้าง
ศักยภาพ สร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลง”
พันธกิจ
มุ่งมั่นเป็นสถาบันการศึกษาทางการ
พยาบาลที่เป็นเลิศได้รับการยอมรับ
มาตรฐานวิชาชีพที่เน้นการสนับสนุน
การเรียนรู้ร่วมกับแหล่งฝึกและ
เครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพเสริมสร้าง
ศักยภาพของบุคลากรและนักศึกษา
ในมาตรฐานการพยาบาลและยึดมั่น
ในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมทาง
การพยาบาลเพื่อให้ได้รับการยอมรับ
ในระดับสากล
เอกลักษณ์
ให้การพยาบาลด้วยมาตรฐานวิชาชีพ
และคุณภาพในระดับสากล
อัตลักษณ์
พร้อมเรียนรู้ มีจิตให้บริการ
วิสัยทัศน์
“คณะพยาบาลศาสตร์จะเป็นสถาบัน การศึกษาพยาบาลที่มีมาตรฐานวิชาชีพเป็นเลิศด้วยคุณภาพในระดับสากล”

แนวทางการพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์
(พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)

นโยบายหลักของหน่วยงาน
          นโยบายที่ 1 ยกระดับการปรับหลักสูตร การจัดการศึกษาให้ได้ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพ
และตามสภาวิชาชีพเพื่อสร้างบัณฑิตที่พร้อมเรียนรู้
และมีจิตให้บริการได้รับการยอมรับมาตรฐานวิชาชีพ พร้อมทำงานในประชาคมอาเซียน

        นโยบายที่ 2 สร้างเครือข่ายศูนย์ฝึกอบรม ความเป็นเลิศทางการพยาบาลโดยให้แหล่งฝึกความศูนย์กลางความเป็นเลิศในการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาการเรียนการสอน
พัฒนาการสอนการปฏิบัติการพยาบาล
การวิจัย การบริการวิชาการภายใต้
กระบวนการสร้างการเรียนรู้

          นโยบายที่ 3 สนับสนุนการเรียนรู้จากสถาบัน การศึกษาทางการพยาบาลต้นแบบ
เพื่อยกระดับการเรียนรู้แบบก้าวหน้าเสริมสร้าง
ศักยภาพการพัฒนาบุคลากรในภารกิจหลัก
และพัฒนาการสร้างเครือข่ายในระดับสากล

          นโยบายที่ 4 สร้างระบบการบริหารจัดการ พื้นฐานของคณะด้วยการบริหารจัดการ
ด้วยหลักธรรมาภิบาลมีประสิทธิภาพโปร่งใส
ตรวจสอบได้ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
และกำหนดให้บุคลากรมีเพิ่มศักยภาพในการทำงาน
แบบหลายมิติ

          นโยบายที่ 5 สนับสนุนให้บุคลากร
และนักศึกษาได้รับการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพ
การเรียนรู้จนเกิด การสร้างสรรค์นวัตกรรม
ทางการพยาบาล สามารถตกผลึกความรู้เพื่อ
นำไปเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการพยาบาล


แนวทางการขับเคลื่อนคณะฯเชิงรุก
แนวทางการก้าวสู่มาตรฐานวิชาชีพ
พร้อมทำงานในประชาคมอาเซียน


      พัฒนาต่อยอดและบูรณาการสาขาการพยาบาลเข้าสู่ ประชาคมอาเซียนโดยใช้สถาบันเครือข่ายทางการพยาบาล เป็นพี่เลี้ยงสร้างเครือข่ายในการสร้างพัฒนาความร่วมมือ ตามศักยภาพของแหล่งฝึกหลักของคณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมถึงการใช้สัมพันธภาพ ของอาจารย์ที่มาจากสถาบัน การศึกษาเอกชนหรือโรงพยาบาลเอกชน ในการนำไปสู่ การพัฒนาให้บัณฑิต ได้เปิดพื้นที่การทำงานใน
โรงพยาบาล ในระดับอาเซียนในอนาคต
      จัดระบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่หอพักด้วย ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ตามกระบวนการวิชา
รวมถึง การของบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติม ในการปรับสถานที่ ให้เพียงพอกับการใช้งานและตามมาตรฐานของสภาวิชาชีพ


แนวทางการขับเคลื่อนสู่ศูนย์ฝึกอบรม
ความเป็นเลิศทางการพยาบาล

   เร่งสร้างข้อตกลงความร่วมมือกับแหล่งฝึก
ในเชิงวิชาการ เชิงบริการวิชาการ เชิงการอบรม
พยาบาลพี่เลี้ยงแบบสนับสนุนงบประมาณ
ในกิจกรรมความร่วมมือทำการสำรวจทุน
และศักยภาพของบุคลากรในแหล่งฝึก
เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นศูนย์ความเป็นเลิศ
ทางการพยาบาล ที่ใช้การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
และสนับสนุนงาน ทางด้านวิชาการในการพัฒนา
การรับรองคุณภาพของโรงพยาบาล

แนวทางการยกระดับการเรียนรู้แบบก้าวหน้า

การเสริมสร้างศักยภาพอาจารย์ในการพัฒนาองค์ความรู้ ร่วมกับแหล่งฝึกหลักมีการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับ สถาบันการศึกษาทางการพยาบาลต้นแบบ ในการร่วมกัน สร้างคุณภาพมาตรฐานของรายวิชาและหลักสูตร
การพัฒนา ตำราหนังสือการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ ควรมีกลไกในการสร้างการเรียนรู้ กับสถาบันการศึกษา ทางการพยาบาลในการเป็นพี่เลี้ยงในการแนะนำหรือร่วมมือ ในการพัฒนาร่วมกัน มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง และพิจารณาผลงานทางวิชาการเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ ระดับคณะ โดยเชิญ
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากเครือข่าย สถาบันทางการพยาบาลหรือ จากผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ที่
เกษียณอายุ




แนวทางพัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพิ่มศักยภาพในการทำงาน


      พัฒนาระบบและกลไกในการจัดทำระบบฐานข้อมูล ของคณะโดยมีการสรรหาผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี และการเขียนโปรแกรม ในการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัย และสามารถใช้งานได้จริงในการประกอบการตัดสินใจ ของผู้บริหาร เร่งปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ของคณะ แบบมีส่วนร่วมด้วยการกำหนด เป้าหมายทิศทาง ในการขับเคลื่อนตามนโยบาย ของมหาวิทยาลัย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 นโยบายไทยแลนด์ 4.0 นโยบายอุดมศึกษา 4.0 และขอความคิดเห็นร่วมจาก บุคลากรในคณะพร้อมให้คณะกรรมการประจำคณะ ให้ข้อคิดเห็น ในการพัฒนาองค์กรเชิงรุก

      คณะให้ความสำคัญ กับการบริหารจัดการตาม
กฎ ระเบียบ ตามแบบองค์ประกอบมากกว่าองค์รวมโดยการ พัฒนาศักยภาพของผู้บริหาร ให้ได้เรียนรู้ต้นแบบ ผู้นำมีการเรียนรู้วิธีคิดในการทำงาน แบบองค์รวม จากกระบวนการสนับสนุนการสร้างศักยภาพในระดับ
เครือข่าย



แนวทางพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้
สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาล

มีผลงานร่วมระหว่างแหล่งฝึกภาคปฏิบัติรวมถึงการสร้างสรรค์ นวัตกรรมทางการพยาบาล
เพื่อใช้ประโยชน์ได้จริงของหน่วยงาน และ
คณะพยาบาลศาสตร์