Notice: Undefined variable: path in /var/www/html/covid19/include/route.php on line 35
เรียนรู้ ยอมรับ ปรับตัว
บทเรียนโควิดจากมหาวิทยาลัย
STAY SAFE
STAY STRONG
STAY WITH
จัดทำโดยนักศึกษารุ่น 61/1 คณะครุศาสตร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
    นิทรรศการฉบับออนไลน์   
เกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโคโรนาหรือ
Covid-19ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมพวกเราเริ่มจากการให้ความรู้ ขับเคลื่อน ให้ความร่วมมือ ในช่วงสถานการณ์โควิดอย่างไร
เรามาเรียนรู้กันผ่านทางนิทรรศการออนไลน์เรื่องเรียนรู้ ยอมรับ ปรับตัว :บทเรียนโควิดจากมหาวิทยาลัย Stay safe ,Stay strong ,Stay with
STAY SAFE
STAY STRONG
STAY WITH
ท่านมีความพึงพอใจในการชมนิทรรศการระดับใด
จำนวนผู้ทำแบบสอบถาม 1147  |  คะแนนเฉลี่ย 4.73
Visitor Counter
Today : 00012
ALL : 2267223
Online : 00001
จุดเริ่มต้น
ของโรค
Covid-19

โรค Covid-19 คืออะไร

โรคโควิด19 คือ ไวรัสโคโรนา(Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1960
แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใดแต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด6สายพันธุ์ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่7
จึงถูกเรียกว่าเป็น“ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่”และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ
ว่า “โควิด-19”(COVID-19)จุดเริ่มต้นการระบาดเกิดขึ้นที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน
ในเดือนธันวาคมปีค.ศ.2019ขณะนี้โรคโควิด19มีการระบาดใหญ่และส่งผลกระทบ
แก่หลายประเทศทั่วโลก

ต้นกำเนิดของไวรัสมาจากไหน

ต้นตอของไวรัสน่าจะมาจากการที่ไวรัสจากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คนผู้ป่วย
รายแรกเท่าที่ทราบกันเริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมและไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนแต่ผู้ป่วยหลายรายอาจมีมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนหรือก่อนหน้านั้นมีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเชื้อไวรัสและพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม

การระบาดใหญ่ (Pandemic) คืออะไร

การระบาดใหญ่ หรือ Pandemic คือปรากฏการณ์ที่โรคติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งได้แพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคขนาดใหญ่ทั่วโลกตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมีการระบาดใหญ่ของโรค เช่น ไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค และวัณโรคอยู่บ่อยครั้งและหนึ่งในโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดคือ กาฬโรค (Black Death)
ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 75–200 ล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่14 การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่
(ไข้หวัดใหญ่สเปน)ในปีค.ศ.1918และการระบาดของโรคเอดส์หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่20ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า30ล้านคนที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการวิจัยใหญ่ทางไวรัสวิทยาโดยเฉพาะการผลิตยาต้านไวรัสที่มีผลต่อการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสในปัจจุบัน

เหตุใดโลกจึงเสี่ยงเผชิญ
โรคระบาดใหญ่

"ความเสี่ยง 7 ประการ" กับการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเชื่อว่า ปัจจุบันมนุษย์เราเผชิญกับความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาด
ครั้งใหญ่ในระดับทั่วโลกมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยง 7 ประการด้วยกัน
ประการที่ 1
“การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกและการขยายตัว
ของเขตมหานคร”

โดยสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ภายในปีค.ศ. 2050 ประชากรโลกราว 66% จะอาศัยอยู่ในเขตเมืองการที่ประชากรหนาแน่นขึ้นทำให้ต้องใช้ชีวิตและปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นซึ่งหมายถึงการส่งผ่านเชื้อโรคต่างๆ สู่กันและกันได้ง่ายขึ้นด้วย
ประการที่ 2
“การรุกล้ำเข้าสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ”
เมื่อเขตมหานครขยายตัวจึงจำเป็นต้องมีการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ใหม่ๆ เช่น พื้นที่ป่า และอาจนำมาซึ่งโรคใหม่ๆ ได้เช่น โรค
Lassa fever ที่ระบาดในไนจีเรียเมื่อปีที่แล้วขณะเดียวกัน สัตว์ที่ถูกทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยก็ต่างอพยพเข้าเมืองและอาจนำเชื้อโรคมาด้วย
ประการที่ 3
“การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก”
ทำให้โอกาสเกิดโรคระบาดสูงขึ้นและรุนแรงขึ้น เช่น โรคท้องร่วง
ในพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมหรือคลื่นความร้อนสูง นอกจากนี้พาหะของโรคต่างๆเช่นยุงลายก็อาจสามารถรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ใหม่ๆที่อากาศอบอุ่นขึ้นทำให้มีโอกาสเกิดโรคระบาดเพิ่มขึ้นด้วย
ประการที่ 4
“การเดินทางข้ามประเทศ”
องค์การการท่องเที่ยวสากลระบุว่าแต่ละปีมีคนเดินทางระหว่างประเทศกว่า1,000ล้านคนซึ่งหมายความว่าเชื้อโรคมีโอกาสถ่ายทอดจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้อย่างง่ายดาย
ประการที่ 5
“ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ”
ซึ่งทำลายระบบสาธารณสุขในประเทศนั้นๆ เช่น การระบาดของ
เชื้ออีโบล่าในสามประเทศของแอฟริกาคือเซียร์ราลีโอน,กินีและไลบีเรียซึ่งล้วนมีปัญหาการเมืองในประเทศทำให้การควบคุม
การระบาดเป็นไปอย่างยากลำบาก
ประการที่ 6
“ปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่
เกิดโรคระบาด”

เนื่องจากแพทย์และพยาบาลในประเทศเหล่านั้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศยากจนมักจะไปทำงานในประเทศอื่นที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่าจึงมักพบปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรภายในประเทศรายงานของสหประชาชาติชี้ว่าปัจจุบันมากกว่า 75 ประเทศที่มีอัตราส่วนแพทย์ 1 คนต่อประชากร มากกว่า 1,000 คน
ประการที่ 7
“การติดต่อสื่อสารไร้พรมแดน”
ทำให้ข่าวเรื่องการระบาดของโรคต่างๆแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทางอินเทอร์เน็ตจนบางครั้งทำให้เกิดการวิตกเกินกว่าเหตุและที่สำคัญไม่ใช่ข่าวทุกอย่างที่เผยแพร่ไปนั้นเป็นข่าวที่ถูกต้องซึ่งบางครั้งส่งผลต่อความพยายามควบคุมการระบาดของโรค

วัคซีนเป็นหนึ่งในความสำเร็จ
ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ

นับตั้งแต่มีวัคซีนเกิดขึ้นผู้คนหลายร้อยล้านชีวิตรอดตายความสำเร็จของวัคซีนทำให้โรคภัยไข้เจ็บหลายโรคหมดไปจากโลกวัคซีนอาจเป็นหนึ่งในความสำเร็จ
ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติได้หรือไม่ โรคไข้ทรพิษทำให้มีผู้เสียชีวิต2ล้านคนต่อปีจนถึงปลายทศวรรษ1960ก่อนที่วัคซีนจะกำจัดโรคนี้ไปจากโลกในช่วงทศวรรษ 1970 ผู้รอดชีวิตจากไข้ทรพิษจำนวนมากต้องตาบอด พิการ หรือสมองถูกทำลาย ซึ่งโรคไข้ทรพิษหมดไปจากโลกในปี1979หลังมีการรณรงค์การให้วัคซีนขนานใหญ่ทั่วโลกส่วนโปลิโอซึ่งพบผู้ป่วยจำนวนมากช่วงทศวรรษ1950และส่งผลให้เสียชีวิตหรือกลายเป็นอัมพาตจำนวนผู้ป่วยโปลิโอลดลงกว่า 99% นับตั้งแต่ปี 1988
การระบาดของหัดเยอรมันในช่วงต้นทศวรรษ1960ส่งผลให้เด็ก20,000คนเกิดมา
พร้อมอาการผิดปกติทางสมองและความผิดปกติอื่นๆที่มีมาแต่กำเนิดอีกหลายอย่าง
1.วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม ได้แก่ เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) วัคซีนกลุ่มนี้ใช้เทคโนโลยีใหม่สังเคราะห์
สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA: mRNA) ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส
วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna
2.วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine) วัคซีนกลุ่มนี้ใช้ไวรัส
ที่สามารถตัดแต่งพันธุกรรม เช่น ไวรัสอะดีโน (Adenovirus)โดยนำมาดัดแปลงพันธุกรรมให้
ไม่สามารถแบ่งตัวได้และใส่สารพันธุกรรมของไวรัสโรคโควิด19ติดไปด้วยเมื่อนํามาฉีดไวรัสพาหะเหล่านี้
จะเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติโดยกระตุ้มภูมิคุ้มกันทั้งระบบให้สร้างแอนติบอดีต่อไวรัส
โรคโควิด19ตามสารพันธุกรรมที่ใส่เข้าไป ปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้ที่ใช้กันแพร่หลายมี 4 แบรนด์
ได้แก่ Astra Zeneca และ Johnson and Johnson
3. วัคซีนที่ทําจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine)วัคซีนที่ผลิตโดยเทคโนโลยีนี้ ทั่วโลกมีความคุ้นเคยมานานเพราะใช้ในการผลิตวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีเป็นต้น ผลิตโดยการสร้างโปรตีนของเชื้อไวรัสด้วยระบบcell culture, yeast, baculovirus เป็นต้น แล้วนํามาผสมกับสารกระตุ้นภูมิเมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตีบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด19วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันคือ วัคซีนแบรนด์ Novavax
4.วัคซีนกลุ่มนี้ผลิตโดยนําไวรัสโรคโควิด19 มาเลี้ยงขยายจํานวนมากและนํามาทำให้เชื้อตาย
การฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสทุกส่วนเสมือนได้รับเชื้อไวรัสโดยตรง
แต่ไม่ทำให้เกิดโรคเพราะเชื้อตายแล้วเทคโนโลยีนี้เป็นวิธีที่ใช้กับวัคซีนตับอักเสบเอ โปลิโอชนิดฉีด
วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Sinovac และ Sinopharm
GLOBAL
COVID
TIME LINE
31
ธันวาคม 2562
ที่มาภาพ : ไทยโพสต์

องค์การอนามัยโลก(WHO)ได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการว่ามีการพบผู้ป่วย
ที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรงจำนวนมากในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย
ตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ธ.ค. 2562

7
มกราคม 2563
ที่มาภาพ : ไทยโพสต์

WHO ประกาศพบการระบาดของไวรัสชนิดใหม่อย่างเป็นทางการ
โดยเกิดจากเชื้อไวรัสประเภทไวรัสโคโรนา หรือ 2019-nCoV

13
มกราคม 2563
ที่มาภาพ : https://mpics.mgronline.com

พบผู้ติดเชื้อรายแรกนอกดินแดนจีน ที่ประเทศไทย

20
มกราคม 2563
ที่มาภาพ : สำนักข่าวอินโฟเควสท์

20 ม.ค. 2563 พบผู้ติดเชื้อรายแรกในสหรัฐ ที่วอชิงตัน

24
มกราคม 2563
ที่มาภาพ https://ichef.bbci.co.uk

24 ม.ค. 2563 พบผู้ติดเชื้อรายแรกในยุโรปที่ฝรั่งเศส

29
มกราคม 2563
ที่มาภาพ : mgronline.com

29 ม.ค. 2563 : พบผู้ติดเชื้อรายแรกในตะวันออกกลาง
ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

2
กุมภาพันธ์ 2563
ที่มาภาพ : BBC News ไทย

2 ก.พ. 2563 : พบผู้เสียชีวิตรายแรกนอกจีน ที่ฟิลิปปินส์

6
กุมภาพันธ์ 2563
ที่มาภาพ : mgronline.com

6 ก.พ. 2563 : พบผู้ติดเชื้อรายแรกในลาตินอเมริกา ที่บราซิล

11
กุมภาพันธ์ 2563
ที่มาภาพ https://www.dudeadam.com

11 ก.พ.2563 : WHO ประกาศตั้งชื่ออย่างเป็นทางการสำหรับ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า COVID-19 หรือโควิด-19

14
กุมภาพันธ์ 2563
ที่มาภาพ : posttoday.com

14 ก.พ. 2563 : พบผู้ติดเชื้อรายแรกในทวีปแอฟริกา ที่อียิปต์

16
กุมภาพันธ์ 2563
ที่มาภาพ : https://workpointtoday.com

16 กุมภาพันธ์ 2563 วัคซีนโควิชิลด์ (SII/Covishield) และวัคซีน
แอสตราเซนเนกา (AstraZeneca/AZD1222) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยบริษัท AstraZeneca/Oxford และผลิตโดย State Institute of India และ
SK Bio ตามลำดับ ได้รับการขึ้นทะเบียน EUL

เดือน
มีนาคม 2563
ที่มาภาพ : https://www.khaosod.co.th

เดือน มีนาคม 2563 สายพันธุ์เอส S (Serine) : เริ่มต้นจากประเทศจีน ระบาดระลอกแรกในไทย

3
เมษายน 2563
ที่มาภาพ : khaosod.co.th

3 เม.ย. 2563 : ทั่วโลกติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทะลุ 1,000,000 ราย

เดือน
กันยายน 2563
ที่มาภาพ : https://www.sanook.com

เดือน ก.ย. 2563 สายพันธุ์ B.1.1.7 (GR,G) พบครั้งแรกในอังกฤษ
ส่วนใหญ่อยู่ในอังกฤษ

เดือน
ตุลาคม 2563
ที่มาภาพ https://www.prachachat.net

เดือนตุลาคม 2563 สายพันธุ์ B.1.351(GH,G)
พบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้

เดือน
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : https://covid-19.kapook.com

เดือน ธ.ค.2563 สายพันธุ์ P.1(GR) พบครั้งแรกคือประเทศบราซิล

8
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ https://siamrath.co.th

8 ธันวาคม 2020 สหราชอาณาจักรคุณยายมากาเร็ต คีแนน
ชาวสหราชอาณาจักร วัย 90 ปี เป็นผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19
ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค เป็นคนแรกของโลก

14
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : https://www.prachachat.net

14 ธันวาคม 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ วัคซีนล็อตแรกไปถึงกรุงอาบูดาบี โดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้อนุมัติวัคซีนจาก บริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค
และวัคซีนจากบริษัทซิโนฟาร์มของ ประเทศจีนเป็นที่เรียบร้อย

14
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ https://www.thansettakij.com

สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาฉีดวัคซีนของไฟเซอร์เข็มแรกให้กับ
ซานดร้า ลินด์เซย์ พยาบาลสาวจากกรุงนิวยอร์กเธอกลายเป็นชาวอเมริกัน
คนแรกที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสหรัฐ

14
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : https://www.prachachat.net

แคนาดา วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์เข็มแรกของประเทศแคนาดา
ถูกฉีดให้กับคุณยายวัย 89 ปี จากรัฐควิเบก แคนาดาก็ได้อนุมัติใช้วัคซีน
ของบริษัทโมเดอร์นาสำหรับการฉีดให้กับประชาชนในประเทศ

17
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : https://www.voathai.com

17 ธันวาคม 2020 ซาอุดิอาระเบีย มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีมากกว่า
360,000 ราย และเสียชีวิตสูงกว่า 6,200 ราย ทำให้ซาอุดิอาระเบีย
เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค

19
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : https://www.bbc.com

19 ธันวาคม 2020 อิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรี
ประเทศอิสราเอล เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นการเริ่มต้นฉีดวัคซีนอย่างเป็นทางการของทั้งประเทศ

22
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : https://www.prachachat.net

22 ธันวาคม 2020 กาตาร์ เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชน
โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหลังจากที่วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค
โดยจะทำการฉีดวัคซีนทั้งหมด 2 โดส ห่างกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์
ณ ศูนย์การแพทย์ทั้ง 7 แห่งทั่วประเทศ

23
ธันวาคม 2563

คอสตาริกา ประเทศคอสตาริกาได้รับวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท
ไฟเซอร์-ไบออนเทค ล็อตแรก เมื่อวันพุธที่ 23 ธันวาคม และเริ่มฉีดวัคซีน
ในวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมาโดยมีคุณยายอลิซาเบธคาสติลโล วัย 91 ปี
เป็นคนแรกของประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีน

23
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : siamrath.co.th

23 ธันวาคม 2020 สวิตเซอร์แลนด์ เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยมีคุณยาย
วัย 90 ปี เป็นคนแรก ที่ได้รับวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค

24
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : https://www.bbc.com

24 ธันวาคม 2020 เม็กซิโกเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในประเทศ หลังจากวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทค จำนวน 3,000 โดสเดินทางมาถึงโดยมีพยาบาลคนหนึ่งเป็นประชาชนคนแรกของประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีน

24
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : https://www.prachachat.net

เซอร์เบีย เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในประเทศ
โดยอานา เบอร์นาบิช นายกรัฐมนตรีของประเทศเซอร์เบีย
เป็นคนแรกที่เข้ารับการฉีดวัคซีน ของบริษัทไฟเซอร์

24
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : https://www.bbc.com

ชิลี ประเทศชิลีกลายเป็นประเทศที่ 2 ในแถบละตินอเมริกาที่เริ่มฉีดวัคซีน
โควิด-19 ให้กับประชาชนในประเทศ โดยพยาบาลวัย 42 ปี
กลายเป็นประชาชนคนแรกของประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีน

26
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : sanook.com

26 ธันวาคม 2020 เยอรมนี เข็มแรกของประเทศเยอรมนี
เริ่มต้นขึ้นที่รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์ คุณยายวัย 101 ปีเป็นคนแรกของประเทศ
ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19

26
ธันวาคม 2563

ฝรั่งเศส เข็มแรกของประเทศฝรั่งเศสถูกฉีดให้กับหญิงวัย 78 ปี
และคุณหมอวัย 78 ปี ในโรงพยาบาลเรเน่-มูเร็ต ใกล้กับกรุงปารีส

26
ธันวาคม 2563

สโลวาเกีย สโลวาเกียเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในประเทศ
โดยมีนาย วลาดิเมียร์ เคิร์กแมรี สมาชิกสมาคมโรคระบาดใหญ่ของรัฐบาลเป็นคนแรกที่ได้รับการฉีดวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค

27
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : https://www.bbc.com

27 ธันวาคม 2020 โครเอเชีย เบรียงก้า แอนิซิค คุณยายวัย 81 ปี
เป็นคนแรกของประเทศโครเอเชีย ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19
พร้อมถ่ายทอดสดออกโทรทัศน์

27
ธันวาคม 2563

ฮังการี เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบรัษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคให้กับ
บุคลากรทางการแพทย์ โดยฮังการีได้รับวัคซีนล็อตแรกในวันเสาร์
ซึ่งจะเพียงพอสำหรับการฉีดให้กับประชาชน กว่า 4,875 คน

โอมาน เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบรัษัทไฟเซอร์ ให้กับรัฐมนตรีสาธารณสุขเป็นคนแรกของประเทศ โดยโอมานตั้งเป้าจะฉีดวัคซีนให้ประชาชนกว่า 60% ของประเทศ หรือมากกว่า 5 ล้านคน

27
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ https://thaipublica.org

สาธารณรัฐเช็ก อันเดรย์ บาบิช นายกรัฐมนตรีเป็นคนแรกที่ได้รับการ
ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ บริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค ณ โรงพยาบาลในกรุงปราก

27
ธันวาคม 2563

อิตาลี วัคซีนโควิด-19 เข็มแรกของประเทศอิตาลี ถูกฉีดให้กับ
คลาวเดีย อลิเวอร์นินี ซึ่งทำงานเป็นพยาบาล

27
ธันวาคม 2563

ไซปรัส เริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศเป็นครั้งแรก
โดยผู้สูงอายุในกรุงนิโคเซีย เมืองหลวงของประเทศ เมืองลาร์นาคา
และเมืองลิมาซวอล เป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรก

27
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : https://www.pptvhd36.com

เดนมาร์ก เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชน โดยผู้สูงอายุวัย 79 ปี จากเมืองโอเดนเซ่ กลายเป็นประชาชนคนแรกของประเทศที่ได้รับวัคซีน

สเปน คุณยายวัย 96 ปี ในเมืองหลวงของสเปน เป็นคนแรกของประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19

27
ธันวาคม 2563

โรมาเนีย มิฮาเอลา แองเฮล พยาบาลจากโรงพยาบาลในกรุงบูคาเรสต์
เป็นประชาชนคนแรกของประเทศโรมาเนียที่ได้รับวัคซีนโควิด-19
ซึ่งเริ่มฉีดให้กับประชาชน

27
ธันวาคม 2563

โปแลนด์ เริ่มฉีดวัคซีนโควด-19 โดยพยาบาลจากโรงพยาบาลในกรุงวอร์ซอ เป็นคนแรกของประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีน โควิด-19
ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค

27
ธันวาคม 2563

ฟินแลนด์ บุคลากรทางการแพทย์ 6 คน เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19
เป็นกลุ่มแรกของประเทศฟินแลนด์

กรีซ หัวหน้าพยาบาลในแผนก ICU เป็นประชาชนคนแรกของประเทศกรีซ
ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคขณะที่ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของประเทศ เป็นคนที่ 3 และ 4
ของประเทศที่ได้รับวัคซีน

27
ธันวาคม 2563

มอลตา พยาบาลจากโรงพยาบาลกลางเป็นคนแรกของประเทศมอลตา
ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ในวันที่ 27 เช่นเดียวกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประเทศอื่น ๆ

28
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : BBC News ไทย

28 ธันวาคม 2020 ประชาชนในประเทศเบลเยียมได้รับวัคซีนโควิด-19
ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค เป็นครั้งแรก โดยมีคุณยายโจซ เฮอร์แมนส์
วัย 96 ปี เป็นผู้ได้รับวัคซีนเข็มแรกของประเทศ

29
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : wikipedia.org

29 ธันวาคม 2020 ประเทศเบลารุสเริ่มฉีด "สปุตนิก ไฟว์" วัคซีนโควิด-19 ของประเทศรัสเซียให้กับประชาชนในประเทศ

30
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ : trueid.net

30 ธันวาคม 2020 ประเทศสิงคโปร์ เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในประเทศ โดยมีซาราห์ ลิม พยาบาลวัย 46 ปี ซึ่งทำงานคัดกรองผู้ป่วยโรคโควิด-19 เป็นคนแรกของประเทศ

31
ธันวาคม 2563
ที่มาภาพ https://www.prachachat.net

31 ธันวาคม 2563 วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer/BioNtech Comirnaty)
ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นวัคซีนสำหรับการใช้งานฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก
(WHO Emergency Use Listing – EUL)

12
มีนาคม 2564
ที่มาภาพ https://workpointtoday.com

12 มีนาคม 2564 วัคซีนแจนส์เซน (Janssen/Ad26.COV 2.S) ที่พัฒนาโดย บริษัท Johnson & Johnson ได้รับการขึ้นทะเบียน EUL

30
เมษายน 2564
ที่มาภาพ https://www.prachachat.net

30 เมษายน 2564 วัคซีนโมเดอร์นา (Moderna COVID-19 (mRNA 1273) ได้รับการขึ้นทะเบียน EUL

7
พฤษภาคม 2564
ที่มาภาพ https://workpointtoday.com

7 พฤษภาคม 2564 วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm COVID-19)
ได้รับการขึ้นทะเบียน EUL

บทบาทขององค์การอนามัยโลก WHO

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศระบบเรียกชื่อใหม่ของ
เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆตามอักษรกรีกแทนความนิยม
ของคนทั่วไปและสื่อที่เรียกชื่อสายพันธุ์ด้วยชื่อประเทศหรือสถานที่เพื่อให้ง่ายต่อการอ้างอิงถึงรวมทั้งลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อพลเมืองที่มาจากประเทศที่ตรวจพบเชื้อกลายพันธุ์เหล่านี้
เป็นแห่งแรก

การรับมือโรคระบาดของประเทศไทย

ระบาดรอบแรก 11 เดือน

ปลายธันวาคม 2562 มีรายงานผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ก่อนจะมีการแพร่ระบาดไปหลายประเทศ
มกราคม 2563
  • คัดกรองช่องทางเข้าออกประเทศทุกช่องทาง
  • พบผู้ติดเชื้อในประเทศ
  • ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินเป็นระดับ 3
    และประกาศให้เป็นโรคติดเชื้ออันตรายลำดับที่ 14
กุมภาพันธ์ 2563
  • รับคนไทยในอู่ฮั่นกลับประเทศ
  • มีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตคนแรก
มีนาคม 2563
  • คลัสเตอร์สนามมวย
  • คุมเข้มการเดินทางมาจากต่างประเทศ เช่น ต้องมีใบ
    รับรองแพทย์ มีประกันสุขภาพ
  • ห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
    เดินทางไปต่างประเทศ
  • กทม.และปริมณฑล ปิดสถานที่ต่างๆ เช่น สนามมวย สนามกีฬา สถาบันการศึกษา ร้านนวดแผนโบราณ สถานบันเทิง ห้ามนั่งในร้าน
  • ยกเลิกวันหยุดสงกรานต์ 13-15 เม.ย. ให้หยุด
    วันอื่นทดแทน
  • งดจัดกิจกรรมที่มีคนรวมตัวมาก เช่น คอนเสิร์ต
    งานแสดงสินค้า กิจกรรมทางศาสนาวัฒนธรรม
  • ขอให้เหลื่อมเวลาทำงานและทำงานที่บ้าน
  • เห็นชอบมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค
    เป็นเวลา 3 เดือน เม.ย.-มิ.ย.63
  • ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึง เม.ย.63 ห้ามเข้าไปในพื้นที่สั่งห้าม ห้ามชุมนุม ห้ามเผยแพร่ข่าวปลอม
  • ตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
    ติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (ศบค.)
เมษายน 2563
  • ประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศ ห้ามออกจากเคหสถาน
    ยามวิกาล 22.00-04.00 น.ยกเว้นบางอาชีพ
  • เริ่มค้นหาโรคเชิงรุก
  • ให้ประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด
  • เลื่อนวันเปิดภาคเรียน จากเดิม ก.ค. เป็น ส.ค.
  • ห้ามจัดงานเทศกาลสงกรานต์ในทุกระดับ
  • ห้ามเข้าออก 14 จังหวัด/พื้นที่ ได้แก่ เชียงราย ตาก น่าน แพร่ ตราด บึงกาฬ ภูเก็ต สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เมืองพัทยา และระนอง
  • ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • นายกรัฐมนตรีส่งจดหมายถึงมหาเศรษฐีไทย 20 อันดับ ขอความสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาล
  • ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
    จำนวน 3 ฉบับ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท
พฤษภาคม 2563
  • ผ่อนปรนแบบกำหนดเงื่อนไข ระยะ 1 เช่น ตลาด
    ร้านอาหาร ค้าปลีก-ส่ง ร้านตัดผม
  • ผ่อนปรนแบบกำหนดเงื่อนไข ระยะ 2 เช่น
    ห้างสรรพสินค้า สถานที่ออกกำลังกาย คลินิกเสริม
    ความงาม กองถ่าย
  • ผ่อนปรนแบบกำหนดเงื่อนไข ระยะ 3 เช่น ขยายเวลาห้างสรรพสินค้า ศูนย์พระเครื่อง โรงภาพยนตร์
    ส่วนการเดินทางข้ามจังหวัดยังงดเว้นการท่องเที่ยว
  • ลดระยะเวลาเคอร์ฟิว เป็น 23.00-3.00 น.
  • คลัสเตอร์ศูนย์กักคนเข้าเมือง จ.สงขลา
มิถุนายน 2563
  • ยกเลิกเคอร์ฟิว
  • ผ่อนปรนระยะ 4 เช่น โรงแรม คอนเสิร์ต ร้านนวด
    แผนโบราณ เดินทางข้ามจังหวัดได้ ดื่มแอลกอฮอล์
    ในร้านอาหารได้ แต่ยังคงปิดสถานบันเทิง
  • ขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึง ก.ค.63
กรกฎาคม 2563
  • พบผู้ติดเชื้อเป็นทหารอียิปต์และครอบครัวอุปทูตซูดาน
    ที่ไม่ได้กักตัว
  • เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เฟส 1
    เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สิงหาคม 2563
  • ทดลองผ่อนคลายกิจกรรมตามวิถีชีวิตแนวใหม่
    (New normal) เช่น เปิดเรียนเต็มรูปแบบ
    ขนส่งสาธารณะสามารถมีผู้โดยสารเต็มความจุมาตรฐาน
    การแข่งขันกีฬาแบบมีผู้ชม
  • ขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึง ก.ย.63
กันยายน 2563
  • พบผู้ติดเชื้อในรอบ 100 วัน เป็นผู้ต้องขังใหม่
    ที่เคยเป็นดีเจ
  • สิ้นสุดการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ตุลาคม 2563
  • เปิดลงทะเบียนโครงการ “คนละครึ่ง” เฟส 1
    เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
พฤศจิกายน 2563
  • สั่งซื้อวัคซีน
  • ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 45 วัน ตั้งแต่
    1 ธ.ค.63 - 15 ม.ค.64

การรับมือโรคระบาดของประเทศไทย

ระบาดระลอกสอง 3 เดือน

ธันวาคม 2563
  • คลัสเตอร์ตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร
  • คลัสเตอร์บ่อนการพนัน
  • กทม.ใช้มาตรการให้ลูกค้าสถานบันเทิง นั่งรับประทานอาหารเท่านั้น, ลดความหนาแน่นผู้ชมในสนามมวย,
    ห้ามรวมกลุ่มใหญ่ในสวนสาธารณะ,ห้ามวัดทำกิจกรรมที่มีคนหมู่มาก, โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่อยู่ในพื้นที่เชื่อมต่อ จ.สมุทรสาคร ให้ปิดเรียนชั่วคราว, ตั้งจุดสกัดห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเข้า กทม.
  • 20 ธ.ค. ประกาศสถานการณ์เข้าสู่การระบาด
    ระลอกใหม่
  • เปิดลงทะเบียนโครงการ “คนละครึ่ง” เฟส 2
  • เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เฟส 2
มกราคม 2564
  • คลัสเตอร์ดีเจมะตูม
  • ห้ามเข้าออกพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี และ ตราด ยกเว้นเหตุจำเป็น
    หรือเหตุฉุกเฉิน
  • มีการแบ่งพื้นที่ตามระดับความเสี่ยง
  • ปิดสถานศึกษาและสถานรับเลี้ยงเด็ก
  • เปิดลงทะเบียนโครงการ “คนละครึ่ง” เฟส 2
    รอบเพิ่มเติม
  • เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราชนะ”
  • เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน”
กุมภาพันธ์ 2564
  • มาตรการลดค่าครองชีพ 2 เดือน ก.พ.-มี.ค.
    (ค่าประปา ไฟฟ้า) เพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ต 3 เดือน
  • สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
  • ขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึง 31 มี.ค.64
  • ผ่อนปรนมาตรการเกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
    โดยสมุทรสาครยังคงเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดอนุญาตให้ บางสถานที่หรือกิจการเปิดให้บริการแต่ยังคงปิดสถานศึกษา สถานบันเทิง หรือสถานีขนส่งสาธารณะต่อไป
  • ประกาศ 4 จังหวัดควบคุมสูง ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ซึ่งจังหวัดอื่นๆ ยังอยู่ในการควบคุมแต่ขยายเวลาเปิดร้านอาหารได้ถึง 23.00 น.
  • วัคซีนชุดแรกส่งถึงไทย 317,000 โดส
  • เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เฟส 3
มีนาคม 2564
  • ฉีดวัคซีนล็อตแรกให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เสี่ยงสูง
    และพื้นที่เศรษฐกิจ
  • เปิดลงทะเบียนโครงการ “เราชนะ” สำหรับกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

การรับมือโรคระบาดของประเทศไทย

ระบาดระลอกสอง 3 เดือน

เมษายน 2564
  • คลัสเตอร์สถานบันเทิง ย่านทองหล่อ
  • คลัสเตอร์เรือนจำนราธิวาส
  • กำหนดมาตรการตามระดับของพื้นที่เสี่ยง แต่ไม่เคอร์ฟิว ไม่ล็อกดาวน์
  • ปิดสถานบันเทิง และกำหนดเวลาปิดห้างสรรพสินค้า
  • จัด รพ.สนาม และ Hospital เตรียมพร้อมรองรับ
  • ยังสามารถเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้
  • ไม่ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร แม้พบผู้ติดเชื้อไปร่วมจับสลาก
  • ล่าสุด แถลงวันที่ 16 เม.ย.ประกาศปิดสถานศึกษา ห้ามรวมกลุ่มเกิน 50 คน ปิดสถานบริการเสี่ยง ขอให้งดการเดินทางโดยเฉพาะจังหวัดควบคุมสูงสุด
    งดจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ พร้อมยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดตามพื้นที่ ดังนี้

จังหวัดควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด

นั่งรับประทานอาหารในร้านได้ถึง21.00น.แต่ให้ซื้อกลับบ้านได้ถึง23.00น.ห้ามดื่มแอลกอฮอลล์ในร้านห้างสรรพสินค้าเปิดได้ถึง21.00น.แต่ปิดส่วนเครื่องเล่นตู้เกมร้านสะดวกซื้อซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัด ถนนคนเดิน เปิดได้ถึง 23.00 น. (ร้านสะดวกซื้อ 24 ชม.ให้เปิด 04.00 น.)
สถานที่ออกกำลังกาย ฟิตเนส เปิดได้ถึง 21.00 น.จัดการแข่งขันได้โดยจำกัดผู้ชม

จังหวัดควบคุม 59 จังหวัด

นั่งรับประทานอาหารในร้านได้ถึง 21.00 น.ห้ามดื่มแอลกอฮอลล์
ในร้านห้างสรรพสินค้าเปิดได้ถึง 21.00 น. แต่ปิดส่วนเครื่องเล่น ตู้เกม

Timeline Covid Thailand

ปี 2563

13
ม.ค.
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยืนยันพบผู้ป่วยโควิด-19
รายแรกในไทยและเป็นรายแรกที่พบนอกประเทศจีน
ผู้ป่วยรายนี้เป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีนอายุ61ปี
เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น
12
ก.พ.
องค์การอนามัยโลก(WHO)ประกาศชื่อที่เป็นทางการสำหรับใช้เรียกโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า "โควิด-19" (Covid-19)โดยชื่อนี้มาจาก
คำย่อในภาษาอังกฤษของคำว่าโคโรนาไวรัสและดีซีส (Disease) ที่แปลว่าโรคภัยไข้เจ็บรวมทั้งเลข 19
ซึ่งหมายถึงปี 2019 ที่มีรายงานการแพร่ระบาดครั้งแรก
29
ก.พ.
สธ.ออกประกาศให้ "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019"
หรือ "โรคโควิด 19" เป็นโรคติดต่ออันตราย
1
มี.ค.
สธ.แถลงผู้ป่วยโควิด-19 คนไทยเสียชีวิตเป็นรายแรก
เป็นชายไทย อายุ 35 ปี ที่มีประวัติสัมผัสนักท่องเที่ยว
ชาวจีน
11
มี.ค.
องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เป็น "การระบาดใหญ่" หรือ pandemic
26
มี.ค.
รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 26 มี.ค.-30 เม.ย.
28
พ.ย.
กรมควบคุมโรคแถลงยืนยันพบหญิงไทยวัย 29 ปี
ในจ.เชียงใหม่ติดโควิด-19 ผู้ป่วยรายนี้กลับมาจาก
เมียนมาร์และมีประวัติไปสถานบันเทิงห้างสรรพสินค้า
โรงภาพยนตร์ทำให้มีกลุ่มสัมผัสเสี่ยงทุกกลุ่มรวม326คน
15
ธ.ค.
สธ.ประกาศการระบาดระลอกใหม่ในไทยหลังจาก
มีการแพร่ระบาดที่ตลาดกลางกุ้ง ต.มหาชัย
อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร

Timeline Covid Thailand

ปี 2564

3
ม.ค.
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
ได้ถอดรหัสสายพันธุ์พบเป็นสายพันธุ์อังกฤษ
หรือที่เรียกว่า"สายพันธุ์อังกฤษที่กลายพันธุ์B.1.1.7"
ได้ในประเทศไทยเป็นครอบครัวชาวอังกฤษ 4 คน
ทั้งหมดเข้ารับการรักษาและกักโรคที่โรงพยาบาลเอกชนนับเป็นการพบไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษ
ครั้งแรกในไทย
20
ม.ค.
องค์การอาหารและยา (อย.) ขึ้นทะเบียนตำรับยา
แผนปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า
22
ก.พ.
อย.ขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันวัคซีนโควิด-19
ของซิโนแวค
24
ก.พ.
วัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกมาถึงไทยซึ่งได้แก่
วัคซีนของ บ.ซิโนแวค 2 แสนโดส และวัคซีนของ
แอสตร้าเซนเนก้า117,300 โดส
25
มี.ค.
อย. ขึ้นทะเบียนวัคซีนของ บ.จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
เป็นวัคซีนยี่ห้อที่ 3 ต่อจากซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า
1
เม.ย.
เริ่มต้นการระบาดระลอกที่ 3 โดยเริ่มจากการติดเชื้อเป็น
กลุ่มเป็นก้อนในกลุ่มพนักงานและนักเที่ยวสถานบันเทิงย่านทองหล่อ การระบาดระลอก เม.ย. 2564
8
เม.ย.
คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯตรวจพบว่าเชื้อโควิดที่มีการระบาดในสถานบันเทิงย่านทองหล่อเป็นไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดของสายพันธุ์นี้ในไทย
29
เม.ย.
ศบค.มีมติให้ยกระดับมาตรการป้องกันโรคโควิด-19
โดยประกาศให้6จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการเป็น "พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด" หรือ "พื้นที่สีแดงเข้ม" กำหนดระยะเวลาปิด-เปิดของห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ
ห้ามนั่งรับประทานอาหารที่ร้านและห้ามเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ เป็นต้น เริ่มตั้งแต่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป
7
พ.ค.
คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีมติเห็นชอบ
แนวทางในการฉีดวัคซีนของซิโนแวคให้ผู้ที่มีอายุ
มากกว่า 60 ปีขึ้นไป
10
พ.ค.
ศบค.แถลงยืนยันพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์
สายพันธุ์อินเดียในไทยเป็นคนไทย 2 คนที่เดินทาง
มาจากปากีสถาน
12
พ.ค.
กรมราชทัณฑ์ได้ตรวจหาเชื้อเชิงรุกทั้งในเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และผู้ต้องขัง 100% พบผู้ติดเชื้อโควิด -19
รวม 2,835 รายเป็นครั้งแรกที่มีการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ในเรือนจำ
13
พ.ค.
อ.ย.ขึ้นทะเบียนวัคซีนของบริษัท โมเดอร์นา
เป็นชนิดที่ 4 ต่อจากวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า
ซิโนแวค และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน
21
พ.ค.
ยืนยันพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์อินเดียในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่แคมป์คนงานย่านหลักสี่
23
พ.ค.
สธ.พบการติดเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์แอฟริกาใต้3รายแรกในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
1
มิ.ย.
องค์การอนามัยโลกอนุมัติวัคซีนซิโนแวคของจีน
สำหรับการใช้งานในภาวะฉุกเฉิน
7
มิ.ย.
"ดีเดย์"วันเริ่มต้นฉีดวัคซีนโควิด-19ปูพรมทั่วประเทศ
โดยมีวัคซีนทั้งของซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า
ในสามวันแรก (7, 8 และ 9 มิ.ย.) ฉีดวัคซีนได้
วันละ 416,847 โดส 472,128 โดส และ 336,674 โดสต่อวันตามลำดับ
20
มิ.ย.
วัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรกจำนวน 1 ล้านโดส ที่จัดหาผ่านราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ให้องค์กรต่างๆเป็นวัคซีนทางเลือกมาถึงไทย
24
มิ.ย.
อย.ขึ้นทะเบียนและอนุญาตให้นำเข้าวัคซีน
"โคเมอร์เนตี" (Comirnaty) ของ บ.ไฟเซอร์ โดยมี
บ.ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) เป็นผู้นำเข้า
25
มิ.ย.
เริ่มฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มให้ประชาชนกลุ่มแรก
จำนวน 6,400 คน ซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนโดยรอบ
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
28
มิ.ย.
ข้อกำหนดฉบับที่25ที่ออกภายใต้พ.ร.บ.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมีผลบังคับใช้ใจความสำคัญคือการประกาศให้พื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่กรุงเทพฯ
และปริมณฑลรวม 6 จังหวัดและจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ 4 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
9
ก.ค.
ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.)
ประกาศล็อกดาวน์กรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด
และยกระดับมาตรการควบคุมโรครวม 10 จังหวัด
ที่มีการระบาดรุนแรงของโควิด-19 มีผลอย่างเป็นทางการตั้งแต่ วันที่ 12 ก.ค.
12
ก.ค.
คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีมติสำคัญ 2 ข้อ
เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิดและการตรวจหาเชื้อ คือ
  • เห็นชอบให้มีการฉีดวัคซีนต่างชนิดได้ในประเทศไทย
  • เห็นชอบให้สถานพยาบาลและหน่วยตรวจหาเชื้อ
    โควิด-19 ใช้ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยวิธีตรวจ
    แบบแอนติเจน (rapid antigen test) ได้
17
ก.ค.
จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันของไทยทะลุ1หมื่นรายเป็นครั้งแรกคือ 10,082 และมีผู้เสียชีวิตในรอบ 24ชั่วโมงสูงเป็นประวัติการณ์เช่นกันที่ 141 ราย
19
ก.ค.
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดฉบับที่ 28
ที่ออกตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินให้ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. ศบค.อธิบายว่าข้อกำหนดฉบับนี้เป็น"มาตรการล็อกดาวน์ขั้นสูงสุด"ในพื้นที่13จังหวัดสีแดงเข้มหรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
20
ก.ค.
กรมควบคุมโรคลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด-19 กับบริษัทไฟเซอร์เพื่อจัดหาวัคซีนโควิดคาดว่าวัคซีน
ล็อตแรกจะมาถึงไทยภายในไตรมาสที่ 4 ของปี2564
23
ก.ค.
องค์การเภสัชกรรมเซ็นสัญญากับบริษัทซิลลิคฟาร์มา เพื่อสั่งซื้อวัคซีนชนิดm RNA ของบริษัทโมเดอร์นา
จำนวน 5 ล้านโดส เพื่อเป็นวัคซีน "ทางเลือก"
30
ก.ค.
วัคซีนของไฟเซอร์จำนวน 1.5 ล้านโดสที่รัฐบาลสหรัฐฯ บริจาคให้ไทยเดินทางมาถึง โดย ศบค. เปิดเผยว่าวัคซีน
ล็อตนี้จะนำไปฉีดเป็นวัคซีนกระตุ้น (booster dose) ให้บุคลากรทางการแพทย์, ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์12 สัปดาห์ขึ้นไป
1
ส.ค.
ศบค.มีมติขยายระยะเวลามาตรการควบคุมการระบาด
โควิด-19 แบบ "ล็อกดาวน์ขั้นสูงสุด" ออกไปโดยให้มีผลตั้งแต่ 3 ส.ค. พร้อมกับเพิ่มจังหวัด "สีแดงเข้ม" หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจาก 13 จังหวัดเป็น 29 จังหวัด
4
ส.ค.
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในรอบ 24 ชั่วโมงเกิน 2 หมื่นราย
เป็นครั้งแรก
20
ส.ค.
จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมในประเทศไทย
นับตั้งแต่พบการระบาดในประเทศ เมื่อเดือน ม.ค. 2563 เกิน 1 ล้านคน