นักศึกษายุคโควิด ประสบการณ์ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยที่หายไป
ไปดูกัน
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือโควิด19 ส่งผล ให้นิสิตนักศึกษาไทยกว่า 15 ล้านคน ต้องเปลี่ยนจากการเรียนในห้องเรียนมาสู่ ระบบออนไลน์ นิสิตนักศึกษายุคโควิด19 ว่าพวกเขามีประสบการณ์อะไร  ที่ขาดหายไปบ้าง อาจกล่าวได้ว่าจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด19 ไม่มีใครที่ไม่ได้รับ
ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล บุคคลที่ทำงานแล้วก็ได้รับ
ผลกระทบจากการทำงาน ต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็น work from home ส่วนนักศึกษามีบทบาทและหน้าที่ในการเรียน ก็ยังคงต้องทำหน้าที่ของตนเอง ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนในห้องเรียนปกติ มาอยู่บนห้องเรียนเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ ทุกคนต้องตั้งรับการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ที่ไม่เคยเรียนมาก่อน
อีกทั้งต้องเตรียมทรัพยากรการเรียนรู้ให้พร้อม อาทิ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์สื่อสาร สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่เลยหากนักศึกษามีสิ่งเหล่านี้ แต่คงไม่ใช่กับ
ทุกคน ในวิกฤตนี้เกิดผลกระทบอะไรบ้าง
ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล บุคคลที่ทำงานแล้วก็ได้รับ
ผลกระทบจากการทำงาน ต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็น work from home ส่วนนักศึกษามีบทบาทและหน้าที่ในการเรียน ก็ยังคงต้องทำหน้าที่ของตนเอง ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนในห้องเรียนปกติ มาอยู่บนห้องเรียนเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ ทุกคนต้องตั้งรับการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ที่ไม่เคยเรียนมาก่อน
อีกทั้งต้องเตรียมทรัพยากรการเรียนรู้ให้พร้อม อาทิ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์สื่อสาร สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่เลยหากนักศึกษามีสิ่งเหล่านี้ แต่คงไม่ใช่กับ
ทุกคน ในวิกฤตนี้เกิดผลกระทบอะไรบ้าง
บทเรียนจากวิกฤตและเปลี่ยนเป็นโอกาส
1.การเรียนออนไลน์ภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
2.สุขภาพจิตของนักศึกษา ก็เป็นอีกหนึ่ง
ผลกระทบ
ผลกระทบ
3. นักศึกษาชั้นปีที่ 1 กับคำว่า ‘freshy’
4.ความเหลื่อมล้ำและไม่เท่าเทียมทางการศึกษาที่อาจเพิ่มมากขึ้น
5.ประสิทธิภาพของการเรียนการ สอนออนไลน์ที่ยังบกพร่อง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด19
เป็นสถานการณ์บังคับให้การศึกษาต้อง ย้ายไปสู่ออนไลน์ต้องปรับตัวให้ทันยุคสมัย และเทคโนโลยีในช่วงเวลาที่สั้นมาก แต่เนื่องด้วยเทคโนโลยี ในปัจจุบันและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์สามารถอำนวยความสะดวกการเรียนการสอนได้แค่ปลายนิ้ว ทำให้เราสามารถเรียนรู้ทุกเนื้อหาได้จากทุกคนทุกที่ทุกเวลา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการปฏิสัมพันธ์ ของอาจารย์และนักศึกษาจะลดน้อยลง การเรียนรู้ยังมีอยู่แต่เปลี่ยนพื้นที่จากมหาวิทยาลัยสู่โทรศัพท์ มือถือ
หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ช่วงแรกของการเรียนออนไลน์อาจยังไม่เข้าที่เข้าทางมากนัก เพราะทุกอย่างถูกปรับเปลี่ยนกะทันหัน
จึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่อาจจะพบเจอปัญหา เช่น เนื้อหาที่ยัง
ไม่เหมาะสมกับการเรียนผ่านออนไลน์ สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียนออนไลน์ ความพร้อมของสัญญาณอินเทอร์เน็ต เป็นต้น แต่ช่วงหลังการเรียนออนไลน์ เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น อาจารย์ประจำรายวิชาสามารถปรับรูปแบบการเรียนการสอนทั้งเรื่องของรายละเอียด เนื้อหา และระยะเวลาในการสอนได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าถึงการเรียนอย่างทั่วถึง และเป็นไปตามมาตรฐาน ทางมหาวิทยาลัยจึงได้มีมาตรการช่วยเหลือทางด้านของอินเทอร์เน็ตฟรี ให้นักศึกษา เพื่อลดค่าใช้จ่ายของนักศึกษา
และการเข้าถึงการเรียนการสอนอย่างเท่าเทียม นับว่าเป็นแนวทางลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
เป็นสถานการณ์บังคับให้การศึกษาต้อง ย้ายไปสู่ออนไลน์ต้องปรับตัวให้ทันยุคสมัย และเทคโนโลยีในช่วงเวลาที่สั้นมาก แต่เนื่องด้วยเทคโนโลยี ในปัจจุบันและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์สามารถอำนวยความสะดวกการเรียนการสอนได้แค่ปลายนิ้ว ทำให้เราสามารถเรียนรู้ทุกเนื้อหาได้จากทุกคนทุกที่ทุกเวลา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการปฏิสัมพันธ์ ของอาจารย์และนักศึกษาจะลดน้อยลง การเรียนรู้ยังมีอยู่แต่เปลี่ยนพื้นที่จากมหาวิทยาลัยสู่โทรศัพท์ มือถือ
หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ช่วงแรกของการเรียนออนไลน์อาจยังไม่เข้าที่เข้าทางมากนัก เพราะทุกอย่างถูกปรับเปลี่ยนกะทันหัน
จึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่อาจจะพบเจอปัญหา เช่น เนื้อหาที่ยัง
ไม่เหมาะสมกับการเรียนผ่านออนไลน์ สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียนออนไลน์ ความพร้อมของสัญญาณอินเทอร์เน็ต เป็นต้น แต่ช่วงหลังการเรียนออนไลน์ เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น อาจารย์ประจำรายวิชาสามารถปรับรูปแบบการเรียนการสอนทั้งเรื่องของรายละเอียด เนื้อหา และระยะเวลาในการสอนได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าถึงการเรียนอย่างทั่วถึง และเป็นไปตามมาตรฐาน ทางมหาวิทยาลัยจึงได้มีมาตรการช่วยเหลือทางด้านของอินเทอร์เน็ตฟรี ให้นักศึกษา เพื่อลดค่าใช้จ่ายของนักศึกษา
และการเข้าถึงการเรียนการสอนอย่างเท่าเทียม นับว่าเป็นแนวทางลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
ในขณะที่รายได้ของครอบครัวลดลง จากสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ผู้ปกครองต้องแบกรับค่าใช้จ่าย ทั้งค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าอุปกรณ์ โดยเฉพาะแท็บเล็ตที่กลายมาเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเรียน ซึ่งจากการสัมภาษณ์นักศึกษาท่านหนึ่งกล่าวว่า “ผล
กระทบของนักศึกษาในช่วงโควิด-19 มันกระทบในทุกด้านเลย พอมีสถานการณ์โควิด มหาวิทยาลัยต้องปรับมาเป็นออนไลน์ ค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าไฟ ค่าเน็ต ค่าอุปกรณ์ ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอุปกรณ์ที่จะเรียนได้ อย่างคอมพิวเตอร์ไม่มีกล้องต้องใช้มือถือช่วยในการเรียน บางคนเรียนผ่านมือถือ จอก็เล็กมากอ่านสไลด์อาจารย์ไม่ชัดเจน ทำรายงานพิมพ์งานก็ไม่มีโน้ตบุ๊ก ร้านคอมพิวเตอร์ก็ไม่เปิด มันมีความไม่เท่าเทียมกันอยู่ตรงนี้”
กระทบของนักศึกษาในช่วงโควิด-19 มันกระทบในทุกด้านเลย พอมีสถานการณ์โควิด มหาวิทยาลัยต้องปรับมาเป็นออนไลน์ ค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าไฟ ค่าเน็ต ค่าอุปกรณ์ ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอุปกรณ์ที่จะเรียนได้ อย่างคอมพิวเตอร์ไม่มีกล้องต้องใช้มือถือช่วยในการเรียน บางคนเรียนผ่านมือถือ จอก็เล็กมากอ่านสไลด์อาจารย์ไม่ชัดเจน ทำรายงานพิมพ์งานก็ไม่มีโน้ตบุ๊ก ร้านคอมพิวเตอร์ก็ไม่เปิด มันมีความไม่เท่าเทียมกันอยู่ตรงนี้”
เนื่องด้วยประสิทธิภาพการเรียนที่ลดลง และเมื่อคำนึงว่าไม่ใช่นักศึกษาทุกคนที่จะมีห้องส่วนตัว มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรวมถึงในหลายสาขาวิชา ที่ต้องเรียนภาคปฏิบัติ แต่ต้องปรับมาเรียนออนไลน์ คุณภาพการเรียนรู้และประสบการณ์ก็ลดลงไปด้วย งานส่วนใหญ่เน้นทำรายงาน เน้นทำโปรเจกต์ และในการเรียนเราไม่ได้วิชาเดียวพอหลายวิชาสั่งงานภาระงานมากขึ้น ความเหนื่อยล้ามากขึ้นกว่าในห้องปกติ ทำให้นักศึกษากดดันการเรียนมากขึ้น และที่สำคัญขาดแรงจูงใจ และกำลังใจที่ให้กันจากเพื่อนจากบรรยากาศรอบตัว ที่ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้ ส่งผลต่อจิตใจ
นักศึกษาใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้ามาใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 เสียโอกาสที่จะเข้าร่วมกิจกรรมมหาวิทยาลัย และได้ใช้ชีวิตกับเพื่อนใหม่ๆ
โอกาสใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นค่าเสียโอกาส ที่เรียกคืนมาไม่ได้ เป็นประสบการณ์ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ที่ไม่อาจมีสิ่งใดมาทดแทนได้
โอกาสใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นค่าเสียโอกาส ที่เรียกคืนมาไม่ได้ เป็นประสบการณ์ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ที่ไม่อาจมีสิ่งใดมาทดแทนได้
เราทุกคนสังเกตเห็นว่า ความเหลื่อมล้ำและโอกาสเข้าถึง ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพนับเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ช่องว่างระหว่างโอกาสเข้าถึงการศึกษาและความพร้อมทาง ด้านอุปกรณ์รองรับการเรียนเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน นักศึกษาบางส่วนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนผ่านทาง ระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน ในขณะที่มีนักศึกษาอีกหลายคนที่ผู้ปกครองยากจน ไม่มีเงินที่จะซื้อคอมพิวเตอร์หรือเพื่อเรียนหนังสือผ่านช่องทาง ออนไลน์ได้ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลายกิจการต่างเลิกกิจการ และลดตำแหน่ง งานอาจทำให้ผู้ปกครองของนักศึกษากลุ่มนี้ ต้องถูกเลิกจ้างหรือไม่มีงานประจำที่มั่นคงนี้ก็จะยิ่งสร้างความลำบาก ต่อสภาพความเป็นอยู่ยิ่งขึ้น ยิ่งการแพร่ระบาดครั้งนี้ใช้เวลานานมากเท่าไร ก็จะยิ่งสร้างช่องว่างของความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาให้ขยายกว้างยิ่งขึ้นเท่านั้น
เพราะทุกคนต่างเริ่มต้นเรียนรู้ และปรับตัวไปด้วยกัน ทั้งอาจารย์และนักศึกษา เราต้องยอมรับว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะสร้างการเปลี่ยนแปลงไปอีกยาวนาน อาจไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตเฉกเช่นปกติได้อย่างที่หวัง เช่น เมื่อครูไม่สามารถดำเนินการสอนด้วยตนเองในห้องเรียนได้อย่างที่ควรจะเป็น ผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษาจึงต้องพิจารณา ช่องทางการเรียนรู้อื่นๆทดแทน แต่น่าเสียดายที่ประสิทธิภาพของระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของประเทศเรายังไม่พร้อม เพราะอาจารย์ก็ต้องเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบออนไลน์ เทคนิควิธีสอน การสร้างบรรยากาศการเรียน เทคนิคในการติดตามการเรียนรู้แบบออนไลน์ ทุกสิ่งเป็นสิ่งใหม่ ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ ส่วนนักศึกษาก็ต้องเรียนแบบออนไลน์ ความรับผิดชอบในการเรียน และความตั้งใจในการเรียน ต้องมีมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษา และเป็นสิ่งท้าทายในการเรียนการสอนในอนาคต