เรียนรู้ ยอมรับ ปรับตัว : บทเรียนของมหาวิทยาลัยจากโควิด
ไปดูกัน
โควิด19 คือ การระบาดครั้งใหญ่ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงไปทั้งโลกกระทบกระเทือนทั้งชีวิต
อาชีพ เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา วิถีชีวิตคนเราเกือบ 2 ปี ผ่านเหตุการณ์สิ่งๆต่างมากมาย ทั้งการสูญเสีย การเปลี่ยนแปลง การค้นคว้า การช่วยเหลือ โดยไม่แบ่งชนชาติ เราเห็นการรับมือของโลกของรัฐบาลหรือแม้กระทั่งตัวเราว่าทำสิ่งใดบ้างกำลังเผชิญกับสิ่งใด
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เกิดการเรียนรู้ ในสถานการณ์ การระบาดนี้ เราต้องรู้จักโรคโควิด 19 เป็นอย่างไรและเราจะรอดจากสถานการณ์นี้อย่างไร
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เกิดการเรียนรู้ ในสถานการณ์ การระบาดนี้ เราต้องรู้จักโรคโควิด 19 เป็นอย่างไรและเราจะรอดจากสถานการณ์นี้อย่างไร
เรายอมรับว่า การระบาดโรคโควิด19 มันคือ ไวรัสที่มีการติดต่อได้จาก คนสู่คนได้อย่างง่ายดาย จำนวนคน ที่ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น และจังหวัดนครปฐมก็ถูกจัดโซนเป็นที่พื้นที่สีแดงที่มีผู้ติดเชื้อสูง ซึ่งเราไม่สามารถเลี่ยงจากสถานการณ์นี้ได้
จากนั้นเราปรับตัวในบทบาทที่เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น บทบาทแรกเริ่มจากตัวเรา ประกาศมาตรการการรับมือโควิดในเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่างๆทุกมิติ ทั้งรูปแบบ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ของนักศึกษา การให้บุคลากรปฏิบัติงานที่บ้าน ณ ที่พักอาศัยของตนเอง (Work from Home) ระบบการช่วยเหลือนักศึกษาทั้งค่าใช้จ่าย และการเฝ้าระวังการติดเชื้อโรค
จากนั้นเราปรับตัวในบทบาทที่เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น บทบาทแรกเริ่มจากตัวเรา ประกาศมาตรการการรับมือโควิดในเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่างๆทุกมิติ ทั้งรูปแบบ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ของนักศึกษา การให้บุคลากรปฏิบัติงานที่บ้าน ณ ที่พักอาศัยของตนเอง (Work from Home) ระบบการช่วยเหลือนักศึกษาทั้งค่าใช้จ่าย และการเฝ้าระวังการติดเชื้อโรค
บทบาทที่ 2 มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เราได้ดำเนินการส่งมอบพื้นที่หอพักนักศึกษาพยาบาล เป็นศูนย์เก็บตัวเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของจังหวัดนครปฐม (Local Quarantine :LQ1) ตั้งแต่ระลอก ที่ 1 , 2 และ 3 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน และร่วมมือกับจังหวัดนครปฐม เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนให้บริการประชาชน ในจังหวัดนครปฐมจำนวนกว่า 50,000 คน
ช่วงเวลาแห่งการระบาดของ Covid-19 ทำให้มหาวิทยาลัยเกิดการตั้งคำถามว่า เราได้บทเรียนจากวิกฤตนี้และเปลี่ยนเป็นโอกาสอย่างไร
บทเรียนจากวิกฤตและเปลี่ยนเป็นโอกาส
ไปดูกัน
เรียนรู้ ยอมรับ ปรับตัว : บทเรียนของมหาวิทยาลัยจากโควิด
ที่มา : บทสัมภาษณ์ อาจารย์ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
บทเรียนที่ 1
บทเรียนที่ 2
บทเรียนที่ 3
บทเรียนที่ 4
บทเรียนที่ 5
จะเกิดอะไรขึ้นกับอนาคต ทิศทางจะปรับเปลี่ยนไปเช่นไร บทเรียนต่างๆ อาจเกิดขึ้นอีกมากมาย เราแค่เรียนรู้ ยอมรับ และปรับตัว โควิดสอนความเป็นมนุษย์ โควิดปฏิกิริยาเร่งสังคมที่เปลี่ยนแปลง The future is now
บทเรียนที่ 1
สะท้อนความเชี่ยวชาญและความรอบรู้ทางวิชาการ ของบุคลากร มหาวิทยาลัยเล็งเห็นศักยภาพของคณาจารย์ และบุคลากรทุกภาคส่วนในการร่วมกันรับมือและแก้ปัญหา การระบาดของ Covid-19 คณาจารย์แต่ละสาขาวิชาระดมความรู้ การช่วยเหลือ เพื่อจัดการปัญหาร่วมกับจังหวัดนครปฐม อาทิ การใช้เทคโนโลยีสร้างระบบการติดตามการฉีดวัคซีน
บทเรียนที่ 2
บทเรียนชีวิตดิจิทัลทุกคนถูกเร่งให้ปรับตัวเข้ากับชีวิตปกติใหม่ จากการระบาดของโรคโควิดทั้งการเรียนการสอนออนไลน์ การปฏิบัติงาน Work from home การดำเนินงานบริหารต่างๆ ผ่าน E-office บุคลากรทุกคนเรียนรู้ปรับแนวคิดเพื่ออยู่กับ โลกดิจิทัลเต็มรูปแบบทำให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยเรา ได้มีการผลักดันการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินงานต่างๆ จนเมื่อเกิดวิกฤตเราก็สามารถดำเนินงานได้เป็นอย่างดี
บทเรียนที่ 3
เกิดการพัฒนานวัตกรรมและระบบการดำเนินงาน เมื่อเกิดโรคระบาด มหาวิทยาลัยเล็งเห็นการบูรณาการ ศาสตร์ความรู้แต่ละคณะวิชาในการมีส่วนร่วมในการเป็น ศูนย์ฉีดวัคซีน สถานที่พักคอย อาทิ การสร้างระบบการ ดูแลช่วยเหลือผู้ติดเชื้อระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยใช้เทคโนโลยีระบบการติดตามการฉีดวัคซีน
บทเรียนที่ 4
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยด้านจิตอาสา คงเป็นภาพสะท้อน ที่ชัดเจนจากการที่คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ร่วมแรง ร่วมใจ ถึงแม้จะอยู่ในสถานการณ์ ที่แพร่ระบาดอย่างมากและอาจเสี่ยงเกิดการติดเชื้อ จากคนจำนวนมากแต่บุคคลเหล่านี้ ได้ปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะศูนย์ฉีดวัคซีนของจังหวัดนครปฐม เป็นระยะเวลากว่า 2เดือนทำให้เรารู้ว่าบุคลากร ของเรารู้ว่าแก่นแท้เราคือใคร เราทำเพื่ออะไร เขาเหล่านี้ คือ ความภาคภูมิใจ ของมหาวิทยาลัย
บทเรียนที่ 5
การปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ทุกบทบาทหน้าที่คณาจารย์กับนักศึกษา บทบาทในการเรียนการสอนออนไลน์ที่ต่างต้องปรับตัว กับการเรียนการสอนออนไลน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะพยาบาลศาสตร์ที่ต้องเป็นด่านแรก ในการรับมือคณาจารย์ได้บูรณาการการเรียนการสอนโดยใช้ สถานการณ์การแพร่ระบาดนี้เป็นบทเรียนให้นักศึกษาได้ปฏิบัติ วิชาชีพพยาบาลตั้งแต่มหาวิทยาลัยเปิดเป็นสถานที่พักคอย ผู้เสี่ยงติดเชื้อโควิดและศูนย์ฉีดวัคซีนเรียนรู้ทั้งวิชาชีพ และการสื่อสารกับผู้คนจำนวนมากเพื่อให้ทุกคนเกิด ความเข้าใจในโรคนี้